วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิจัยชั้นเรียน อาจารย์ศรัณย์ จิตโสภา




โครงงานวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง การใช้ ชุด กฎ กติกา เงื่อนไขในการการเช็คเวลาเรียนเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการเข้าเรียน
ของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชชาชีพ ปีที่3/5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553

ชื่อผู้วิจัย นายศรัณย์ จิตโสภา
โรงเรียนพงษ์สวัสดิพณิชยการ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 1


ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในการเข้าเรียนของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพในรอบปีที่ผ่านมามีนักเรียนเข้าเรียนไม่ตรงเวลาและนักเรียนบางคนไม่เข้าเรียน ส่งผลให้นักเรียนที่เข้าเรียนไม่ทัน และหนีเรียนไม่เข้าใจในเนื้อหา ความรู้ในบทเรียน ไม่ครบถ้วนตามกระบวนการ ทำให้เวลาทำการเรียนการสอนนักเรียนเกิดความไม่เข้าใจในเนื้อหาแบบเรียน ตอบคำถามไม่ได้ในเรื่องที่ทำการเรียนการสอน เมื่อมอบหมายงานให้ทำและทำการทดสอบมีผลการทดสอบไม่เป็นที่น่าพอใจ อีกทั้งนักเรียนที่เข้าช้ามักชักชวนเพื่อนคนอื่น ๆ ให้เข้าช้าหรือหนีเรียนอีกด้วย และเวลาที่เข้าเรียนช้าก็จะทำการพูดคุยกับเพื่อนทำให้รบกวนการเรียนของเพื่อนในห้องเรียนด้วย เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นจากการเข้าเรียนช้า จึงออกแบบ กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียนเพื่อแก้ไขปัญหา ปรับปรุง และพฤติกรรมอันไม่เหมาะสม ดังกล่าว

วัตถุประสงค์ในการจัดทำ
1. เพื่อแก้ไขปรับปรุงพฤติกรรมการเข้าเรียนช้าและหนีเรียนของนักเรียน รายวิชาฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้น
2. เพื่อพัฒนาความเข้าใจในการเรียนและผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักเรียน รายวิชาฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้น

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลาและไม่หนีเรียน
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
3. ลดพฤติกรรมอันเกิดจากการหนีเรียนของนักเรียน เช่น การลักขโมย การหนีไปสูบบุหรี่ หรือสารเสพติดต่าง ๆ
4. ทำเกิดความมีระเบียบวินัยในการเข้าเรียนและความเป็นระเบียบของสถานศึกษา

การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
กระบวนการเรียนการสอน สื่อจัดว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้กระบวนการเรียนการสอนครบบริบูรณ์และยังอาจกล่าวได้ว่าเป็นตัวชี้ถึงประสิทธิภาพของการเรียนการสอนในครั้งนั้น ๆ อีกด้วย เพราะตัวสื่อจะเป็นตัวการสำคัญที่นำเอาความรู้และประสบการณ์เข้าไปสู่การรับรู้ของผู้เรียน ซึ่งการรับรู้นี้เองที่ครูผู้สอนจะเลือกช่องทางให้ถูกต้อง มิฉะนั้นแล้วความรู้และประสบการณ์ทั้งหมดจะไม่สามารถเกิดขึ้นแก่ผู้เรียนได้ตามประสงค์ของครูผู้สอน ประสาทสัมผัสที่รับรู้ได้แม้มีเพียง 5 ประการ ได้แก่ การรับรู้ทางตา การรับรู้ทางเสียง การรับรู้ทางสัมผัส การรับรู้ทางรส และการรับรู้ทางกลิ่น แต่ในทางปฏิบัติแล้ว จะพบว่ามีการเลือกใช้การรับรู้ไม่เหมาะสมกันมากอันเนื่องมาจากยึดเอาความสะดวกคุ้นเคยของผู้สอน เช่น การใช้การบรรยายในการสอนเพื่ออธิบายรูปทรงของเคส เพื่อเปรียบเทียบลักษณะของลักษณะการใช้งาน ราคา เคสแต่ละรุ่น เป็นต้น ซึ่งคงจะเห็นได้ว่าผู้เรียนจะรับรู้และเกิดผลของการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างแน่นอน เพราะภาพนึกจากการฟังจะถูกแปลความหมายไปตามประสบการณ์เดิมของผู้เรียนซึ่งก็ย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรจะต้องนำภาพมาใช้ประกอบการบรรยายดังกล่าวด้วย จึงจะสามารถชี้ให้เห็นความเหมือนหรือความแตกต่างของสถาปัตยกรรมได้อย่างชัดเจน ประเด็นนี้คงจะสรุปได้ว่าความสมบูรณ์ของกระบวนการเรียนการสอนจำเป็นต้องให้ความสำคัญในองค์ประกอบของแต่ละส่วน โดยเฉพาะในส่วนของสื่อการสอนนั้น ในแนวคิดด้านเทคโนโลยีการศึกษาจะถือว่าสื่อการสอน คือ การทำให้ความเป็นนามธรรมไปสู่ความเป็นรูปธรรม
วิธีการ ได้แก่ สิ่งที่ใช้เทคนิคเป็นพิเศษเฉพาะ เช่น การจัดกิจกรรมต่าง ๆ เกมการศึกษา ศูนย์การเรียน การทดลอง ทัศนศึกษา สถานการณ์จำลอง แหล่งความรู้ชุมชน เป็นต้น การจัดประเภทของสื่อการสอนอีกลักษณะหนึ่งเน้นพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยถือว่าสิ่งใดๆ ก็ตามที่สามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นโดยทางตรง หรือทางอ้อมก็ตาม ถือได้ว่าสื่อเป็นแหล่งรวมของความรู้ แหล่งความรู้ มี 4 ลักษณะ ได้แก่
1. แหล่งความรู้ที่เกิดจากครูผู้สอน โดยยึดเอาครูผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้โดยตรง ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งจะโดยวิธีการใดก็ตาม การยึดเอาผู้สอนเป็นศูนย์กลางว่าเป็นสื่อ เช่นนี้ เพราะมีความเชื่อว่าคนก็เป็นสื่อประเภทหนึ่งที่สามารถแพร่ความรู้ไปสู่ผู้รับสาร สื่อบุคคลจะเป็นสื่อที่มีคุณค่ามากที่สุด เพราะเป็นแหล่งความรู้ที่กว้างขวาง สามารถมีปฏิสัมพันธ์ขณะถ่ายทอดประสบการณ์ และปรับสภาพให้เหมาะสมได้กับทุกสถานการณ์และจัดกิจกรรมการเรียนได้ทุกรูปแบบ และทุก พฤติกรรมอันได้แก่ พุทธพิสัย เจตพิสัย และทักษะพิสัย และที่สำคัญครูเป็นสภาพของมนุษย์มีความรู้สึก มีชีวิตจิตใจ คุณธรรม ซึ่งหาจากสื่ออื่น ๆ ไม่ได้
2. แหล่งความรู้ที่เกิดจากผู้เรียน โดยกำหนดให้ผู้เรียนเป็นแหล่งความรู้ ด้วยความเชื่อที่ว่า “ทุกคนมีความรู้และประสบการณ์” และความรู้ในประสบการณ์ระหว่างผู้เรียนเอง เป็นความรู้ที่มีความเรียบง่าย เข้าใจง่าย และเป็นช่วงของวัยวุฒิที่เหมาะสมตรงตามสภาพที่เป็นจริง และวิธีการหาความรู้เป็นประสบการณ์ตรงของผู้เรียนเอง ซึ่งจะทำให้องค์ประกอบของการเรียนรู้ เช่น ระดับความรู้ ภาษาการสื่อสาร บรรยากาศเป็นไปตามธรรมชาติของการเรียนรู้จริง ซึ่งโดยหลักของการเรียนรู้แล้วถือได้ว่าเป็นการเรียนรู้ที่ได้จรากการกระทำด้วยตนเอง อันจะเป็นผลถึงความเข้าใจ ความคล่องแคล่ว และความรู้สึกที่เป็นพฤติกรรมที่ถาวร และเป็นการปลูกฝังให้สามารถหาความรู้ได้ด้วยตนเองตลอดเวลา
3. แหล่งความรู้ที่เกิดจากสื่อเป็นศูนย์กลาง ได้แก่ การใช้สื่อการสอน เป็นตัวกลางการถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้เรียน โดยทั่วไปจะเป็นสื่อสำเร็จทั้งที่เป็นสื่อระบบและสื่อไม่เป็นระบบ การใช้สื่อเป็นศูนย์กลางเช่นนี้จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนรู้ได้ตลอดเวลา โดยมีการจัดระบบของการเรียนรู้ไว้ให้ เช่น การอ่านจากตำรา การใช้ห้องสมุด การเรียนด้วยบทเรียนโปรแกรม สไลด์ วีดิทัศน์ ซีดี-รอม ความรู้จากสื่อประเภทนี้ แม้จะเป็นแบบเนื้อหาตายตัว แต่ก็สามารถใช้เรียนรู้และทบทวนได้ตามความต้องการ และการใช้สื่อเป็นศูนย์กลางนี้หากได้มีการออกแบบให้เป็นสื่อประสม(Multi Media) ก็จะส่งเสริมให้ได้ใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ได้หลายอย่างอีกด้วย อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะยอมรับในความสำคัญของแหล่งความรู้ที่เกิดจากสื่อเป็นศูนย์กลางได้ก็จริง แต่ก็มีผู้ให้ข้อสังเกตว่า “สื่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่อาจพัฒนาขึ้นสอนแทนคนได้ แต่ต้องให้มีการสอนกันอย่างมีชีวิตชีวา” (ฟิลลิป แจกสัน, 1968)
4. แหล่งความรู้ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การนำเอาสภาพแวดล้อมมาเป็นแหล่งความรู้ อันได้แก่ อาคารสถานที่ สวนป่า สวนสาธารณะ ชุมชน องค์ประกอบชุมชน การนำสิ่งแวดล้อมมาเป็นสื่อการสอนประเภทหนึ่งโดยยึดหลักการที่ว่า “ความรู้มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง” ถ้าได้มีการพิจารณากันอย่างถ่องแท้ก็จะเข้าใจว่า ธรรมชาติเป็นแหล่งความรู้ที่แท้จริง มีความเป็นจริงในเชิงธรรมะที่เป็นธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ ต้นไม้ให้ความรู้ โครงสร้างของต้นไม้ กิ่ง ใบ ดอก ลำต้น การเจริญเติบโตและแผ่กิ่งก้านสาขาปกคลุมพื้นดินให้ชุ่มชื่นสร้างความร่มรื่นแก่บริเวณใกล้เคียง ข้อความที่ขีดเส้นต้นเมื่อขยายความคิดต่อไปอีกก็คือ ความร่มรื่นนั้นลดอุณหภูมิ อันจะเป็นผลต่อไปถึงการลดใช้พลังงานไฟฟ้าที่จะต้องนำไปใช้กับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น พัดลมและเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น บ้านเรือน ชุมชน ที่สาธารณะใช้พลังงานกันทั้งสิ้น ฉะนั้นถ้าจะต้องศึกษาในเรื่องของพลังงานสามารถออกไปศึกษาสำรวจเก็บข้อมูลต่างๆ ได้หลากหลาย และเป็นข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Source) และเป็นสื่อที่ครู นักเรียน ไม่ต้องไปผลิตขึ้นมาเพียงแต่ต้องวางแผนจัดกิจกรรม ทัศนศึกษาดูงาน อันเป็นกลุ่มวิธีการของสื่อการสอนอย่างหนึ่งก็สามารถก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สื่อประเภทต่างๆ ที่ยกมากล่าวเป็นตัวอย่างข้างต้นนี้ หากจะได้ทำความเข้าใจอย่างชัดเจนแล้วเชื่อได้ว่าในการเรียนการสอนจริงสามารถนำไปใช้เป็นสื่อการสอนในเชิงเทคโนโลยีการศึกษาได้และเมื่อถึงวันนั้นเราคงไม่ขาดแคลนสื่อการสอนอย่างแน่นอน
สมมุติฐานสำหรับการวิจัย
เมื่อใช้ ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3/5 จะทำให้นักเรียนเข้าเรียนตรงเวลาและไม่หนีเรียน พัฒนาการเรียนของนักเรียนและลดพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมที่เกิดจากการหนีเรียน
ขอบเขตของการวิจัย
1. การวิจัยพัฒนาครั้งนี้เป็นการสร้างชุด กฎ กติกาและเงื่อนไขในการเช็คเวลาเข้าเรียนของ นักเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553
2. ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3/5 ที่เรียนในรายวิชา ฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้ โรงเรียนพงษ์สวัสดิ์พณิชยการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553

นิยามศัพท์ในการวิจัย
1. ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน หมายถึง แบบเช็คเวลาที่ จัดทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการเข้าเรียนช้าของนักเรียน ประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3/5
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่นักเรียนได้รับจากการทดสอบแบบทดสอบ ที่ครูสร้างขึ้น

วิธีดำเนินการวิจัย
1. วางแผนการจัดทำชุด ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
2. ศึกษาองค์ประกอบที่มีผลต่อการแก้ไขพฤติกรรมการเข้าเรียนช้าหรือหนีเรียนของนักเรียน
3. รวบรวมข้อมูลการจัดทำชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
4. วางแบบขั้นตอนการใช้งานชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
5. จัดทำชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
6. ใช้ ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
7. ประเมินผลโดยแบบทดสอบ แบบสังเกตพฤติกรรมและแบบสำรวจการเข้าเรียน
8. สรุปผลการใช้ ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
9. ปรับปรุงและพัฒนาชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป

กลุ่มตัวอย่าง
3. กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3/5 ที่เรียนในรายวิชา ฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้ โรงเรียนพงษ์สวัสดิ์พณิชยการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553


การวิเคราะห์และประเมินผลการเรียนรู้
1. การสังเกต
2. แบบสำรวจการเข้าเรียน
3. การประเมินผลสภาพจริง
พฤติกรรมการเรียนรู้ การตอบคำถาม การทำแบบฝึกหัด
ปฏิทินการวิจัย
1. ขั้นการวิจัย (ภาคเรียนที่ 2 พฤศจิกายน – มกราคม 2553 )
1. วางแผนการจัดทำชุด ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียน
2. ศึกษาองค์ประกอบที่มีผลต่อการแก้ไขพฤติกรรมการเข้าเรียนช้าหรือหนีเรียน
3. รวบรวมข้อมูลการจัดทำชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียน
4. วางแบบขั้นตอนการใช้งานชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียน
5. จัดทำชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
2. ใช้ ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
3. ขั้นประเมินผลโดยแบบทดสอบ แบบสังเกตพฤติกรรมและแบบสำรวจการเข้าเรียน
( พฤศจิกายน – มกราคม 2553 )
4. สรุปผลการใช้ ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
ปรับปรุงและพัฒนาชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป

เอกสารอ้างอิง
ธีระพัฒน์ ฤทธิ์ทอง . วิจัยอย่างง่ายของครู , 2542 . เอกสารอัดสำเนา
นภดล เจนอักษร, ACTION RESEARCH : การวิจัยของครู . เอกสารอัดสำเนา. 2542 .
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ” หลักการเขียนรายงานทางวิชาการ” การวิจัย การวัดและ
ประเมินผล กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยมหิดล ,2533.
วิชาการ กรม กระทรวงศึกษาธิการ. การวิจัยเชิงพัฒนา ระดับโรงเรียน ,กรุงเทพมหานคร
โรงพิมพ์คุรุสภา , 2536.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น