วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัด ชั้น ปวช.3/6 วันที่ 6 ธันวาคม 2554 
ให้นักเรียนทำการสร้าง PowerPoint จากหนังสื่อเรียน วิชา ฮาร์แวร์และยูทิลิตี้ ให้เสร็จ แล้วนำไปฝากไฟล์ ที่ http://www.tempf.com/  แล้วนำลิงค์ URL มาฝากไว้ที่ เฟสบุ๊คกลุ่ม 3/6 ไม่เกิน 24.00 ของวันนี้

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

ร่วมช่วยกันโหวตหน่อยนะ






แบบทดสอบก่อนสอบปลายภาค

1. หน้าที่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายแบ่งตามลักษณะสำคัญได้ 2 ประเภทประเภทที่มีสิทธิเท่าเทียมกันเรียกว่าอย่างไร
2. อะไรต่อไปนี้ไม่ใช่องค์ประกอบของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
3. ระบบเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์คืออะไร
4. การเขียนFlowchart ที่งานที่สุดในทั้ง 3รุปแบบแล้วแบบที่เรียกว่า Loop Structureแล้วแยกได้อีก2แบบแบบไหนที่ต้องดูเงื่อนไขก่อนแล้วจึงดำเนินการ
5. การเขียนFlowchart ที่งานที่สุดในทั้ง 3รุปแบบแล้วแบบที่เรียกว่า Loop Structureแล้วแยกได้อีก2แบบแบบไหนที่ต้องดูคำสั่งก่อนแล้วจึงดำเนินการตามเงื่อนไข
6. LAN เป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันอย่าง
7. ข้อใดคือเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัย
8. อินเตอร์เน็ทมีแหล่งกำเนิดมาจากที่ใดในโลก
9. การใช้คอมพิวเตอร์ในที่ห่างไกลเรานิยมเรียกว่าอย่างไรธ
10. หลักเกณฑ์ทั่วไปของการเขียนผังานต้องเริ่มต้นด้วยการทำงานแบบใดการ
11. ข้อใดไม่ได้จัดอยู่ในชนิดของFirewallที่นักเรียนศึกษา
12. การทำงานของFlowchart แบ่งเป็นสองประเภทคืออะไรบ้าง
13. การ์ดแลนคืออุปกรณ์ที่ใช้ทำหน้าที่อะไร
14. เครือข่ายอินเตอร์เน็ทเป็นคำผสมระหว่างคำว่าIntercomnectiondy
15. การเขียนFlowchart ที่งานที่สุดในทั้ง 3รุปแบบคือแบบใด
16. ข้อจำกัดข้องการเขียนผังงานคือข้อใด
17. หน่วยมาตราฐานที่รวบรวมและกำหนอมาตราฐานสัญลักษณ์ของการเขียน Flowchart คือที่ใด
18. สื่อกลางในการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์คือข้อใด
19. ข้อใดคือความสำคัญของระบบเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด
20. หน่วยมาตราฐานที่รวบรวมและกำหนอมาตราฐานสัญลักษณ์ของการเขียนFlowchartคือที่ใด
21. การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันบนระบบเครือข่ายเราเรียกว่าอย่างไร
22. ผังงานคืออะไร
23. IP address ในระบบเครือข่ายมีความสำคัญอย่างไร
24. การเขียนแผนผังที่ถูต้องควมีลักษณะการเขียนอย่างไร
25. WAN เป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันอย่างไร
26. Proxy Server คืออะไร
27. คำว่า จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เรียกอีกอย่างว่าอะไร?
28. File ข้อมูลนามสกุล .doc สามารถเปิดดูจากโปรแกรมใดได้
29. โปรแกรมปฎิบัติการที่นิยมใช้ในการทำระบบเครือข่ายคือโปรแกรมใด
30. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ได้เป็นการเข้าโจมตีเครือข่าย

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แบบทดสอบ ระบบปฏิบัติการรอบค่ำ

แบบทดสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

1. DOS ย่อมาจากอะไร
ก. Disk Operating System
ข. Door Of System
ค. Disk of System
ง. Direct - Opening Systematic


--------------------------------------------------------------------------------

2. Sector ในระบบ DOS มีขนาดเท่าใด
ก. 16 byte
ข. 256 byte
ค. 512 byte
ง. 1024 byte


--------------------------------------------------------------------------------

3. ระบบปฏิบัติการ LINUX เป็นระบบแบบใด
ก. ระบบผู้ใช้คนเดียว
ข. ระบบ WINDOWS ที่ MICROSOFT เขียนขึ้นมาแก้ไขข้อผิดพลาดของตน
ค. ระบบปฏิบัติการแบบหลายผู้ใช้ เข้าใช้เครื่องพร้อมกัน ผ่านระบบเครือข่าย
ง. ระบบปฏิบัติการสำหรับธุรกิจโดยเฉพาะ เช่น ร้านค้า ร้าน VDO เป็นต้น


--------------------------------------------------------------------------------

4. 2 Kb มีขนาดเท่าใด
ก. 2000 byte
ข. 200 byte
ค. 32 byte
ง. 2048 byte


--------------------------------------------------------------------------------

5. ลักษณะของ แผ่นขนาด 5.25 นิ้ว(DSDD) Double-Sided Double-Density Disk มีลักษณะอย่างไร
ก. แผ่นดิสก์รูปทรงห้าเหลี่ยม เก็บข้อมูลได้มาก
ข. ความจุ 360 Kb
ค. ขนาดของแผ่นกว้างยาวไม่เท่ากัน โดยกว้าง 5 นิ้ว และยาว 5.25 นิ้ว
ง. แผ่นแบบนี้ใช้กับเครื่องเล่น CD ได้ด้วย ซึ่งใช้เก็บภาพยนต์ได้ครั้งละหลาย ๆ เรื่องได้


--------------------------------------------------------------------------------

6. รุ่นของ ไมโครโปรเซสเซอร์(Microprocessor) รุ่นใดใหม่ที่สุด
ก. 8088
ข. 80486
ค. Pentium
ง. SuperMario


--------------------------------------------------------------------------------

7. บัส (Bus) หมายถึงถนนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งกลุ่มของสายไฟบน main board
ถามว่า บัส ในคอมพิวเตอร์ มีกี่ประเภท
ก. 2 ประเภทคือ บัสภายใน และบัสภายนอก
ข. 3 ประเภท คือ บัสระดับสูง บัสระดับกลาง บัสระดับต่ำ
ค. 1 ประเภทเท่านั้น คือบัสข้อมูล
ง. 2 ประเภท คือ บัสใช้งาน และบัสไม่ใช้งาน


--------------------------------------------------------------------------------

8. สารบัญ(Directory) ของ DOS เก็บอะไร
ก. ชื่อแฟ้ม และส่วนขยาย
ข. คลัสเตอร์แรกของแฟ้ม
ค. ไม่มีข้อใดถูก
ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข.


--------------------------------------------------------------------------------

9. ลักษณะของ แผ่นขนาด 5.25 นิ้ว(DSDD) Double-Sided Double-Density Disk มีลักษณะไม่ตรงตามข้อใด
ก. ขนาด 9 Sector ต่อ Track
ข. ในแผ่นมีจำนวน 40 Track
ค. ใช้เนื้อที่เก็บ ตาราง Directory 7 Sector
ง. ในแผ่นมี 740 Sector


--------------------------------------------------------------------------------

10. ลักษณะของ แผ่นขนาด 3.5 นิ้ว(DSHD) Double-Sided High-Density Disk มีลักษณะตรงตามข้อใด
ก. ขนาด 9 Sector ต่อ Track
ข. ในแผ่นมีจำนวน 40 Track
ค. ใช้เนื้อที่เก็บ ตาราง Directory 14 Sector
ง. ในแผ่นมี 740 Sector


--------------------------------------------------------------------------------

11. แผ่น Disk ต่อไปนี้แบบใด เก็บข้อมูลได้มากที่สุด
ก. 3.5 นิ้ว DSDD
ข. 3.5 นิ้ว DSHD
ค. 5.25 นิ้ว DSDD
ง. 5.25 นิ้ว DSHD


--------------------------------------------------------------------------------

12. แผ่น Disk ต่อไปนี้แบบใด เก็บข้อมูลได้น้อยที่สุด
ก. 3.5 นิ้ว DSDD
ข. 3.5 นิ้ว DSHD
ค. 5.25 นิ้ว DSDD
ง. 5.25 นิ้ว DSHD


--------------------------------------------------------------------------------

13. OS ย่อมาจากอะไร ในเรื่องระบบปฎิบัติการ
ก. Operaing system
ข. Open System
ค. Off-line System
ง. Opportunity System


--------------------------------------------------------------------------------

14. RAM คือหน่วยความจำที่เข้าถึงได้โดยสุ่ม ถามว่า RAM ย่อมาจากอะไร
ก. Read Access Memory
ข. Random Access Memory
ค. Real Action Method
ง. Random Accumulate Measurement


--------------------------------------------------------------------------------

15. ข้อใดเป็นข้อเสียของ DRAM
ก. เกิดการรั่วหรือคลายประจุออกเองเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง
ข. มีขนาดใหญ่เกินกว่าจะใส่เข้าไปในคอมพิวเตอร์ได้
ค. ยังไม่มีผู้ผลิตนำมาใช้ในธุรกิจ
ง. ไม่เคยมีคำนี้ในเรื่องที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาก่อน


--------------------------------------------------------------------------------

16. ข้อใดไม่ใช้หน่วยความจำในเครื่อง Microcomputer
ก. หน่วยความจำปกติ (Conventional memory)
ข. หน่วยความจำอัปเปอร์ (Upper Memory)
ค. หน่วยความจำโลเวอร์ (Lower memory)
ง. หน่วยความจำสูง (High Memory)


--------------------------------------------------------------------------------

17. ข้อใดไม่ใช้หน่วยความจำในเครื่อง Microcomputer
ก. หน่วยความจำเอ็กซ์เทนด์ (Extended memory)
ข. หน่วยความจำปกติ (Conventional memory)
ค. หน่วยความจำเหนือปกติ (High environment memory)
ง. หน่วยความจำเอ็กซ์แปนด์ (Expanded memory)


--------------------------------------------------------------------------------

18. หน่วยความจำ Cache memory เป็นหน่วยความจำแบบใด
ก. Static RAM
ข. Dynamic RAM
ค. Win RAM
ง. Linux RAM


--------------------------------------------------------------------------------

19. หน่วยความจำปกติ (Conventional memory) ใน Microcomputer มีใช้เนื้อที่ขนาดเท่าใด
ก. 64 Kb
ข. 384 Kb
ค. 640 Kb
ง. 1024 Kb


--------------------------------------------------------------------------------

20. หน่วยความจำอัปเปอร์ (Upper memory area) ใน Microcomputer มีใช้เนื้อที่ขนาดเท่าใด
ก. 64 Kb
ข. 384 Kb
ค. 640 Kb
ง. 1024 Kb

วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แบบทดสอบระบบเครือข่าย

1.คำตอบในข้อใดที่จัดว่าเป็น เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ก. ศูนย์รวมคอมพิวเตอร์จำนวนมาก
ข. การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครื่องพิมพ์
ค. การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ผ่านสายเคเบิล
ง. การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องเข้าด้วยกัน

2. ข้อใดสามารถบ่งบอกได้ว่าสำนักงานนั้นๆ เป็นสำนักงานอัตโนมัติ
ก. มีแฟกซ์
ข. มีโทรศัพท์
ค. มีเครือข่าย
ง. มีคอมพิวเตอร์


3.ข้อใดคือประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ก. ข้อมูลปลอดภัย
ข. ประหยัดแรงงาน
ค. สื่อสารได้รวดเร็ว
ง. มีความทันสมัย


4. การสื่อสารข้อมูลแบบใดที่ส่งผ่านถึงผู้รับอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเก็บความลับได้ดี
ก. FAX
ข. E-mail
ค. โทรเลข
ง. โทรศัพท์

5. สัญญาณที่ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์จะเป็นสัญญาณในระบบใด
ก. สัญญาณแบบดิจิทัล
ข. สัญญาณแบบอนาลอค
ค. สัญญาณแบบแอสกี้
ง. สัญญาณแบบไมโครเวฟ

6. ระบบเครือข่ายภายในองค์กร จะส่งผ่านตัวนำข้อมูลใดเป็นหลัก
ก. คลื่นวิทยุ
ข. สายเคเบิล
ค. คลื่นไมโครเวฟ
ง. สัญญาณดาวเทียม

7. การสื่อสารข้อมูลต่อไปนี้ ข้อใดอยู่ในระดับล่างสุด (ระดับที่ 1)
ก. Network Layer
ข. Transport Layer
ค. Data Link Layer
ง. Physical Layer

8. การสื่อสารข้อมูลแบบแพ็กเก็ต (Packet) จะเกี่ยวพันกับการส่งข้อมูลระดับใด
ก. Network Transport Session
ข. Session Presentation Data Link
ค. Data Link Application Physical
ง. Physical Data Link Network

9. ข้อใดมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า Network มากที่สุด
ก. แหล่งรวมคอมพิวเตอร์จำนวนมาก
ข. กลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่นำมาเชื่อมต่อกัน
ค. การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครื่องพิมพ์
ง. การส่งข้อมูลถึงกันและกันผ่านทางคอมพิวเตอร์


10. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำงานคล้ายกับข้อใด
ก. ใยแมงมุม
ข. นาฬิกาทราย
ค. แผนที่เดินทาง
ง. การไหลเวียนของโลหิต

11. ข้อใดมีลักษณะการทำงานคล้ายกับเครือข่ายแบบ Client/Server
ก. เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกตัวจะมีอิสระต่อกัน
ข. คอมพิวเตอร์ทุกตัวมีความสำคัญเท่าเทียมกัน
ค. มีเครื่องหลักให้บริการเครื่องอื่น ๆ ที่อยู่ในเครือข่าย
ง. เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์วงเล็ก ๆ เหมาะกับองค์กรที่ไม่โตนัก

12. คอมพิวเตอร์ ประเภทไคลเอนต์ ( Client ) ได้แก่คอมพิวเตอร์ประเภทใด
ก. คอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องรับบริการ
ข. คอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องหลักที่ให้บริการ
ค. คอมพิวเตอร์ที่ส่งข้อมูลต้นทาง
ง. คอมพิวเตอร์แม่ข่าย


13. เครือข่ายแบบใด ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยสายเคเบิล ยาวต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ
ก. เครือข่ายแบบบัส ( Bus )
ข. เครือข่ายแบบดาว ( Star )
ค. เครือข่ายแบบต้นไม้ ( Tree )
ง. เครือข่ายแบบวงแหวน ( Ring )

14. รูปร่างเครือข่ายแบบใดที่รวมการเชื่อมต่อแบบอื่นหลาย ๆ แบบเข้าด้วยกัน
ก.เครือข่ายแบบบัส ( Bus)
ข. เครือข่ายแบบดาว ( Star )
ค. เครือข่ายแบบต้นไม้ ( Tree )
ง.เครือข่ายแบบวงแหวน ( Ring )




15. ข้อใดเป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะใกล้
ก. การเชื่อมต่อเข้ากับโมเดม
ข. การเชื่อมต่อเข้ากับบริจด์
ค. การเชื่อมต่อเข้ากับไอเอสพี
ง. การเชื่อมต่อเข้ากับบัฟเฟอร์เครื่องพิมพ์





16. อุปกรณ์ใดเหมาะสมกับการแปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณอนาลอค
ก. ฮับ
ข. โมเดม
ค. เกตเวย์
ง. เซอร์เวอร์





17. แผงวงจร ที่ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์กับระบบเครือข่าย
คืออุปกรณ์ในข้อใด
ก. NIC
ข. Server
ค. Router
ง. Gateway





18. Active Hub จะทำหน้าที่เหมือนกับอุปกรณ์ใด
ก. Repeater
ข. Router
ค. Bridge
ง. Server-Based





19. ข้อใดจัดเป็นซอฟต์แวร์ปฏิบัติการระบบเครือข่าย
ก. WinZIP
ข. WinAM
ค. WinWord
ง. Windows NT





20. ข้อใดเป็นซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการฟรี ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนี้
ก. Unix
ข. Linux
ค. NetWare
ง. Windows 2000





21.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่นิยมใช้เพื่อการนำเสนอผลงาน คือข้อใด
ก. Ms Excel
ข. Ms Word
ค. PowerPoint
ง. ACDsee Viewers





22. ตัวกลางในการนำข้อมูลที่นิยมใช้เชื่อมต่อระบบเครือข่าย คือข้อใด
ก. สายเคเบิล
ข. ดาวเทียม
ค. ไมโครเวฟ
ง. ใยแก้วนำแสง





23. ตัวนำสัญญาณชนิดใดที่ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีที่สุด
ก. สายเคเบิล
ข. ดาวเทียม
ค. ไมโครเวฟ
ง. ใยแก้วนำแสง





24. สายนำสัญญาณที่ประกอบด้วยแกนทองแดงเส้นเดียว หุ้มด้วยฉนวนและสายดิน
(ลักษณะเป็นฝอย) แล้วหุ้มด้วยฉนวนบางอีกชั้นหนึ่ง
เป็นลักษณะของสายนำสัญญาณชนิดใด
ก.สาย Coaxial
ข. สาย Shield Twisted Pair
ค. สาย Unshielded Twisted Pair
ง. สาย Fiber Optic Cable





25. การสื่อสารระบบใด ที่สามารถส่งข้อมูลผ่านบรรยากาศ
โดยไม่ต้องอาศัยสายส่งสัญญาณใด ๆ
ก. ระบบดิจิทัล
ข. ระบบอนาลอค
ค. ระบบไมโครเวฟ
ง. ระบบอินทราเน็ต





26. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งข้อมูลถึงกันด้วยข้อมูลทาง
อิเล็กทรอนิกส์






27. ระบบเครือข่ายเน้นการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนกลางเป็นผู้ให้บริการแก่
ผู้ใช้ปลายทางเท่านั้น






28. ระบบเครือข่ายเป็นระบบที่สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันและแลกเปลี่ยนข้อมูล
ระหว่างกันได้






29. โปรโตคอล เป็นภาษากลางที่คอมพิวเตอร์ต่างแบบ ต่างรุ่น สามารถสื่อสาร
ระหว่างกันได้






30. อินเทอร์เน็ต จัดเป็นโครงสร้างเครือข่ายแบบ Metropolitan Area Network






31. เครือข่ายแบบดาว (Star) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์
ที่เป็นจุดศูนย์กลางของเครือข่าย






32. เครือข่ายแบบ Peer-To-Peer จะยอมให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ
เข้าไปใช้ข้อมูลหรืออุปกรณ์ ของตนได้โดยเสมอภาค






33. การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายระยะใกล้ นิยมใช้สายเคเบิลเพราะราคาถูก แต่มี
คุณภาพดี






34. คอมพิวเตอร์ที่ใช้เชื่อมต่อในระบบเครือข่าย จำเป็นจะต้องใช้คอมพิวเตอร์
ประเภทเดียวกัน






35. Network Interface Card เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย
สองเครือข่ายเข้าด้วยกัน

ระบบเครือข่ายแบบ LAN

ระบบเครือข่ายแบบ LAN

ชนิดการเชื่อมต่อของเครือข่าย LAN
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเฉพาะบริเวณแลนนั้น จุดประสงค์หลักอย่างหนึ่งก็คือการแบ่งกันใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ โดยทรัพยากรเหล่านั้นอาจเป็นหน่วยประมวลผลกลาง CPU ความเร็วสูง ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ หรือแม้แต่อุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะเชื่อมอยู่กับคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง วิธีการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดสรรการใช้งานทรัพยากรในระบบเครือข่ายสามารถจำแนกได้เป็น 2 รูปแบบคือ

เครือข่ายแบบพึ่งเครื่องบริการ (Server - based networking)
เป็นการเชื่อมต่อโดยมีเครื่องบริการอยู่ศูนย์กลาง ทำหน้าที่ในการให้บริการต่าง ๆ ที่เครื่องผู้ใช้หรือสถานีงาน (Workstation) ร้องขอ รวมทั้งเป็นผู้จัดการดูแลการจราจรในระบบเครือข่ายทั้งหมด นั่นคือการติดต่อกันระหว่างเครื่องต่าง ๆ จะต้องผ่านเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เครื่องผู้ใช้จะทำการประมวลผลในงานของตนเท่านั้น ไม่มีหน้าที่ในการให้บริการกับเครื่องอื่น ๆ ในระบบ

เครื่องผู้บริการในระบบเครือข่ายชนิดนี้อาจมีได้ 2 รูปแบบคือ

เครื่องบริการแบบอุทิศ (Dedicated Server) หมายถึงเครื่องบริการทำหน้าที่บริการอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในงานทั่ว ๆไปได้ ข้อดีคือทำให้ระบบมีเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพสูง ข้อเสียคือไม่สามารถใช้งานเครื่องที่มีราคาสูงได้
เครื่องบริการแบบไม่อุทิศ (Non - Dedicated Server) หมายถึงเครื่องบริการยังสามารถใช้งานได้ตามปกติเหมือนเครื่องลูกข่าย ซึ่งมีข้อเสียที่สำคัญคือมีประสิทธิภาพของเครือข่ายจะลดลง ทำให้วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมในการใช้งาน


เครือข่ายแบบเท่าเทียม (Peer - to Peer networking)
เป็นการเชื่อมต่อที่เครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายมีสถานะเท่าเทียมกันหมด โดยเครื่องทุกเครื่องสามารถเป็นได้ทั้งเครื่องผู้ใช้และเครื่องบริการในขณะใดขณะหนึ่ง นั่นคือเครื่องทุกเครื่องเปรียบเสมือนกับเป็นเครื่องบริการแบบไม่อุทิศ (Non - Dedicated Server) นั่นเอง ในระบบเครือข่ายประเภทนี้การติดต่อระหว่างแต่ละเครื่องจะสามารถติดต่อกันได้โดยตรง มีข้อเสียคือประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลด้อยกว่าแบบแรก ทำให้ไม่เหมาะกับระบบที่มีการใช้งานการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายมาก ๆ

Network Advantages Disadvantages
Server - Based มีประสิทธิภาพสูงกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นแบบ Dedicates Server
การดูแลระบบสามารถทำได้ง่ายกว่า

เสียค่าใช้จ่ายสูงสำหรับเครื่อง server โดยเฉพาะอย่างยิ่งหารเป็นแบบ Dedicates Server ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้งานอย่างอื่นได้
ไม่สามารถใช้งานทรัพยากรที่เชื่อมอยู่กับ Workstation ได้
ถ้า Server เสียระบบจะหยุดหมด

Peer - to - Peer สามารถใช้งานทรัพยากรซึ่งเชื่อมอยู่กับเครื่องใด ๆ ในเครือข่าย
ประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของ Server
สามารถกระจายโปรแกรมประยุกต์ไปไว้ยังเครื่องต่าง ๆ เพื่อลดการจราจรในเครือข่ายได้
การดูแลระบบทำได้ยาก เนื่องจากทรัพยากระกระจัดกระจายกันไปในเครื่องต่าง ๆ
มีประสิทธิภาพที่ต่ำกว่าแบบ Server - based มาก
เครื่องทุกเครื่องต้องมีหน่วยความจำและประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่อง ในแบบ Server - based


เปรียบเทียบการเชื่อมต่อแบบ Server - based เทียบกับ Peer - to Peer



ส่วนประกอบพื้นฐานของระบบ LAN
Network Operating System (NOS)
ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System) มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของเครือข่าย เช่นเดียวกับการที่ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง ซึ่งในเครือข่ายแบบ Peer - to - Pear เช่น Windows for Workggroups จะมีระบบปฏิบัติการเครือข่ายอยู่ในเครื่องทุกเครื่องของเครือข่าย ในขณะที่ในเครือข่ายแบบ Serverbased เช่น netware หรือ Window NT นั้น ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะอยู่ที่เครื่อง Server ในขณะที่ workstation จะใช้ซอร์ฟแวร์ขนาดเล็กอีกตัวในการติดต่อรับ - ส่งข้อมูลกับ Server

เครื่องบริการและสถานีงาน (Server and Workstation)
ก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบกันเป็นเครือข่ายนั้นเอง โดยเครื่องบริการจะเป็นเครื่องหลักที่มีหน้าที่ให้บริการต่าง ๆ แก่สถานีงานหรือโหนด ซึ่งบริการหลัก ๆ ก็คือบริการแฟ้มข้อมูล บริการเครื่องพิมพ์ บริการแฟกซ์ บริการฐานข้อมูล เป็นต้น ส่วน นั้นก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้ใช้ในการติดต่อเข้าเครือข่ายนั้นเอง

แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย (Netwoirk Interface Card - NIC)
จะเป็นอุปกรณ์ที่เป็นแผงวงจรสำหรับเสียบเข้าช่องต่อขยาย (expansion bus) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถต่อสายของเครือข่ายเข้ามาและทำการติดต่อส่งข้อมูลกับเครือข่ายได้

ระบบการเดินสาย (Cabling System)
ระบบการเดินสายจะเป็นสื่อที่เชื่อมคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจจะประกอบด้วยสายต่าง ๆ คือ UTP/STP , Coaxial , Fiber Optic หรือแม้แต่การเชื่อมกันแบบไร้สาย เช่น Infared หรือสัญญาณวิทยุก็ได้

ทรัพยากรและอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกัน (Shared Resources and Peripherals)
จะรวมถึงอุปกรณ์หน่วยความจำถาวร เช่น อาร์ดดิสก์ หรือเทปที่ต่ออยู่กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ตลอดจนเครื่องพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งผู้ใช้ในเครือข่ายที่ได้รับอนุญาตสามารถใช้งานได้

โครงสร้างของระบบเครือข่าย (Network Topology) แบบ LAN
ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าเป็นระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ (LAN) สามารถออกแบบการเชื่อมต่อกันของเครื่องในเครือข่าย ให้มีโครงสร้างในระดับกายภาพได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนี้

โครงสร้างแบบดาว (Star Topology)
เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง การรับส่งข้อมูลทั้งหมดจะต้องผ่านคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสมอ มีข้อดีคือการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบกระเทือนกับเครื่องอื่นในระบบเลย แต่ข้อเสียคือมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสายสูงและถ้าคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสียระบบเครือข่ายจะหยุดชะงักทั้งหมดทันที

โครงสร้างแบบบัส (Bus Topology)
เป็นโครงสร้างที่เชื่อมคอมพิวเตอร์แต่ละตัวด้วยสายเคเบิลที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งสายเคเบิลหรือบัสนี้เปรียบเสมือนกันถนนที่ข้อมูลจะส่งผ่านไปมาระหว่างแต่ละเครื่องได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องผ่านไปที่ศูนย์กลางก่อน โครงสร้างแบบนี้มีข้อดีที่ใช้สายน้อย และถ้ามีเครื่องเสียก็ไม่มีผลอะไรต่อระบบโดยรวม ส่วนข้อเสียก็คือตรวจหาจุดที่เป็นปัญหาได้ยาก

โครงสร้างแบบแหวน (Ring Topology)
เป็นโครงสร้างที่เชื่อมคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเข้าเป็นวงแหวน ข้อมูลจะถูกส่งต่อ ๆ กันไปในวงแหวนจนกว่าจะถึงเครื่องผู้รับที่ถูกต้อง ข้อดีของโครงสร้างแบบนี้คือ ใช้สายเคเบิลน้อย และสามารถตัดเครื่องที่เสียออกจากระบบได้ ทำให้ไม่มีผลต่อระบบเครือข่าย ข้อเสียคือหากมีเครื่องที่มีปัญหาอยู่ในระบบจะทำให้เครือข่ายไม่สามารถทำงานได้เลย และการเชื่อมต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่ายอาจต้องหยุดระบบทั้งหมดลงก่อน

วิธีควบคุมการเข้าใช้งานสื่อกลาง (Media Access Control (MAC) Methed)
วิธีในการควบคุบการเข้าใช้งานสื่อกลาง (Media Access Control Methed) จะเป็นข้อตกลงที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลผ่านสื่อกลาง (ในที่นี้ก็คือสายเคเบิลของเครือข่ายแบบ LAN) ซึ่งทุกโหนดในเครือข่ายจะต้องใช้มาตรฐานเดียวกัน การทำงานจะเกิดอยู่ในส่วนของแผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย (NIC) และทำงานอยู่ครึ่งท่อนล่างของ Data link Layer คือส่วน MAC Layer

วิธีในการเข้าใช้งานสื่อกลางจะมีอยู่หลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีข้อดีข้อเสียและเหมาะสมกับโทโปโลยีต่าง ๆ กันไป ที่นิยมใช้กันในปัจจบันคือ

CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Acess/Collision Detection)
เป็นวิธีที่ทุกโหนดของเครือข่ายสามารถเห็นข้อมูลที่ไหลอยู่ในสายสื่อสารของเครือข่าย แต่จะมีแต่โหนดปลายทางที่ระบุไว้เท่านั้นที่จะทำการคัดลอกข้อมูลขึ้นไป ในการส่งข้อมูลด้วยวิธีนี้ ทุกโหนดที่ต้องการส่งข้อมูลจะต้องทำการตรวจสอบสายสื่อสารว่าว่างหรือไม่ หากสายไม่ว่งวโหนดก็ต้องหยุดรอและทำการสุ่มตรวจเข้าไปใหม่เรื่อย ๆ จนเมื่อสัญญาณตอบกลับว่าว่างแล้ว จึงสามารถส่งข้อมูลเข้าไปได้ แต่อย่างไรก็ดี อาจมีกรณีที่ 2 โหนดส่งสัญญาณเข้าไปพร้อมกัน ทำให้เกิดการชนกัน (collision) ขึ้น หารกเกิดกรณีนี้ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องหยุดส่งข้อมูล และรออยู่ระยะหนึ่ง ซึ่งโหนดที่สุ่มได้ระยะเวลาที่น้อยที่สุดก็จะทำการส่งก่อน หากชนก็หยุดใหม่ ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะส่งได้สำเร็จ วิธีการใช้สื่อกลางชนิดนี้จะพบมากในโครงสร้างแบบบัส

Token Passing
เป็นวิธีการที่ใช้หลักการของ ซึ่งเป็นกลุ่มของบิตที่วิ่งวนไปตามโหนดต่าง ๆ รอบเครือจ่าย แต่ละโหนดจะตอยตรวจสอบรับข่าวสารที่ส่งมาถึงตนจากใน และในกรณีที่ต้องการส่งข้อมูลก็จะตรวจสอบว่า ว่างอยู่หรือไม่ หากว่างอยู่ก็จะทำการใส่ข้อมูลพร้อมระบุปลายทางเข้าไปใน นั้น และปล่อยให้ วิ่งวนต่อไปในเครือข่าย วิธีในการเข้าใช้สื่อชนิดนี้จะพบมากในโรงสร้างแบบบัส (Token Bus) และแบบวงแหวน (Token ring)

มาตรฐานระบบเครือข่ายแบบ LAN ชนิดต่าง ๆ
โดยปกติแล้ว ในการออกแบบการเชื่อมต่อระบบ Lan จะต้องคำนึงถึงลักษณะโครงสร้าง (Topology) สื่อกลาง (Media) และวิธีในการเข้าใช้สื่อกลาง (Media Access Methed) ซึ่งจะมีความเหมาะสมในการนำมาประกอบกันเพื่อใช้งานแตกต่างกันไป อย่างไรก็ดี เพื่อให้การเชื่อมต่อระบบ มีมาตรฐานและสามารถใช้งานได้อย่างกว้างขวาง ทำให้มีองค์กรกำหนดมาตรฐานได้กำหนดมาตรฐานของระบบเครือข่ายแบบต่าง ๆ ออกมา ซึ่งมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับและมีการใช้งานอย่างกว้างขวางคือ

IEEE 802.3 และ Ethernet
ระบบเครือข่าย Ethernet ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทซีรอกซ์ในปลายทศวรรษ 1970 และในปี 1980 บริษัท Digital Equipment , Intel และ Xeror ได้ร่วมกันออกระบบ Ethernet I ซึ่งใช้งานกับสาย และต่อมาในปี ก็ได้ทำการพัฒนาเป็น Ethernet II ซึ่งเป็นระบบเครือข่ายที่ถูกใช้งานมากที่สุดแบบหนึ่ง จากนั้นองค์กรมาตรฐาน จึงได้ออกข้อกำหนดมาตรฐาน IEEE 802.3 โดยใช้ Ethernet II เป็นรากฐาน โดยมีจุดแตกต่างจาก เล็กน้อย แต่หลักการใหญ่ ๆ จะคล้ายคลึงกัน คือ ใช้ Access Method และ CSMA/CD และใช้ Topology แบบ Bus หรือ Star (Ethernet II จะเป็น Bus เท่านั้น)

นอกจากมาตรฐาน IEEE 802.3 ยังได้ร่างมาตรฐานการใช้สื่อในระดับกายภาพ (Physical) แบบต่าง ๆ ทำให้สามารถใช้สายเคเบิลในระดับการยภาพแบบได้หลายแบบ โดยไม่ต้องเปลี่ยสในส่วยของ Data link ขึ้นไป เช่น 10Base5 , 10BaseT โดย "10" หมายถึงความเร็ว 10 Mbps ส่วน "Baseband" หมายถึง ("Borad" คือ Boardband) และในส่วนสุดท้ายนั้น ในช่วงแรก "5" หมายวถึงระยะไกลสุดที่สามารถเชื่อมต่อมีหน่วยเป็นเมตรคูณร้อย ในที่นี้คือ 500 เมตร แต่ต่อมาได้มีการใช้ความหมายของส่วสนนี้เพิ่มเติมเป็นชนิดของสาย เช่น "T" หมายถึง ใช้สาย Twisted Pair และ "F" หมายถึง Fiber

ในปัจจบัน ยังมีมาตรฐาน IEEE 802.3 ซึ่งได้ขยายครอบคลุมความเร็วระดับ 100 Mbps ด้วย นั่นคือ มาตรฐาน Fast Ethernet โดยจะประกอบด้วย 100BaseTX ซึ่งเป็นสาย UTP Category 5 เชื่อมต่อได้ไกล 100 เมตรต่อเซกเมนต์ และ 100BaseFX ซึ่งใช้สาย เชื่อมต่อได้ไกลถึง 412 เมตรต่อเซกเมนต์ นอกจากนี้ ทาง IEEE ยังกำลังพิจารณาร่างมาตรฐาน 802.3z หรือ Gigabit Ethernet โดยการทำการขยายความเร้ซในการเชื่อต่อขึ้นไปถึง 1000 Mbps (1 Gigabit/seconds)

IEEE 802.4 และ Token Bus
ระบบเครื่อข่ายแบบ Token Bus จะใช้ Access Protocal แบบ Token Passing และ Topology ทางกายภาพเป็นแบบ Bus แต่จะมีการใช้โทโปโลยีทางตรรกเป็นแบบ Ring เพื่อให้แต่ละโหนดรู้จัดตำแหน่งของตนเองและโหนดข้างเคียง จึงทำการผ่าน Token ได้อย่างถูกต้อง

IEEE 802.5 และ Token Ring
ระบบเครือข่ายแบบ Token Ring ได้รับการพัฒนาโดย IBM จะใช้ Access Method แบบ Token Passing และTopology แบบ Ring สามารถใช้ได้กับกับสาย STP,UTP,Coaxial และ Fiber Optic มาตรฐานความเร็วจะมี 2 แบบ คือ 4 Mbps และ 16 Mbps

FDDI (Fiber Distributed Data Interface)
เป็นมาตรฐานเครือข่ายความเร็วสูงที่พัฒนาขึ้นโดย ANSI (American Nation Stadards Instiute) ทำงานที่ความเร็ว 100 Mbps ใช้สายเคเบิลแบบ Fiber Optic ใช้ Access Method แบบ Token-passing และใช้ Topology แบบ วงแหวนคู่ (Dual Ring) ซึ่งช่วยทำให้ทนทานต่อข้อบกพร่อง (fault tolerance) ของระบบเครือข่ายได้ดีขึ้น โดยอาจใช้ Ring หนึ่งเป็น Backup หรืออาจใช้ 2 Ring ในการรับส่งข้อมูลก็ได้

โปรโตคอลของระบบเครือข่าย (Network Protocal)
โปรโตคอลของระบบเครือข่าย (Network Protocal) หรือที่นิยมเรียกกันว่า โปรโตคอลสแตก (Protocal stack) ก็คือชุดชองกฎหรือข้อตกลงในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อให้แต่ละสถานีในเครือข่ายสามารถรับส่งข้อมูลระหว่ากันได้อย่างถูกต้อง โดยโปรโตคอลของระบบเครือข่ายส่วนมากจะทำงานอยู่ในระดับ และ ใน และทำหน้าที่ในการประสานงานระหว่าแผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย (NIC) กับ ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (NOS)

ระบบเครือข่ายที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน จะมีโปรโตคอลสแตกที่ได้รับความนิยมใช้งานกันอยู่หลายโปรโตคอล ซึ่งแต่ละโปรโตคอลก็จะใช้จัดการในงานของเครือข่ายคล้าย ๆ กัน และในกรณีที่ระบบเครือข่ายเชื่อมอยู่กับคอมพิวเตอร์หลายแบบ จะสามารถใช้งานหลาย ๆ โปรโตคอลแสตก พร้อมกันผ่านเครือข่ายได้ เช่น ใช้ IPX/SPX สำหรับ Network และใช้ TCP/IP ในการติดต่อกับ UNIX ผ่าน LAN แบบ Ethernet พร้อม ๆ กัน เป็นต้น

ตัวอย่างของโปรโตคอลแสตกที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน คือ

NetBIOS และ NetBUIE
โปรโตคอล NetBIOS (Network Basic INput/Output System) พัมนาร่วมกันโดย IBM และ Microsoft มีการใช้งานอยู่ในเครือข่าย หลาย ๆ ชนิด อย่างไรก็ดี NetBIOS เป็นโปรโตคอลที่ทำงานอยู่ในระดับ Session Layer เท่านั้น จึงไม่ได้เป็นโปรโตคอลสำหรับเครือข่ายโดยสมบูรณ์ จึงได้พัฒนาโปรโตคอล NetBUIE (Network Extended User Interface) ซึ่งเป็นส่วนขยายเพิ่มเติมของ NetBIOS ที่ทำงานอยู่ใน Network Layer และ Transport Layer จะพบการใช้งานได้ใน Windows for Workgroups และ Windows NT

IPX/SPX
เป็นโปรโตคอลของบริษัท Novell ซึ่งพัฒนาขึ้นมาใช้กับ Netware มีพื้นฐานมาจากโปรโตคอล XNS (Xerox Network Services) ของบริษัท Xerox โปรโตคอล IPX (Internerworl Packet Exchange) จะเป็นโปรโตคอลที่ทำงานอยู่ใน Network Layer ใช้จัดการการแลกเปลี่ยน packet ภายใน Network ทั้งในส่วนของการหาปลายทางและการจัดส่ง packet ส่วน SPX (Sequenced Packet Exchange) จะเป็นโปรโตคอลที่ทำงานอยู่ใน Transport Layer โดยมีหน้าที่ในการจัดการให้ข้อมูลส่งไปถึงจุดหมายได้อย่างแน่นอน



TCP/IP
เป็นโปรโตคอลที่ได้รับการพัฒนามาจากทุนวิจัยของ U.S. Department of Defense's Advanced Research Project Agency (DARPA) ได้รับการใช้งานกันมากใน Internet และระบบ UNIX แบบต่าง ๆ ทำให้อาจกล่าวได้ว่าเป็นโปรโตคอลที่ได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนี้ โดยมีการใช้งานมากทั้งใน LAN และ WAN โปรโตคอล TCP/IP จะเป็นชุดของโปรโตคอลซึ่งรับหน้าที่ในส่วนต่าง ๆ กัน และมีการแบ่งเป็น 2 ระดับ (layer) คือ

IP Layer เป็นโปรโตคอลที่อยู่ในระดับต่ำกว่า TCP อาจเทียบได้กับ Network Layer ใน OSI Referance MOdel ตัวอย่างโปรโตคอลที่อยู่ในระดับนี้คือ IP(Internet Protocal) , ARP (Address Resolution Protocal) , RIP (Roution Information Protocal) เป็นต้น
TCP Layer เป็นโปรโตคอลที่อยู่ในระดับสูงกว่า IP เทียบได้กับ Transport Layer ของ OSI Referance MOdel ตัวอย่างโปรโตคอลใน Layer นี้ TCP (Transport Control Protocal) , UDP (User Datagram Protocal) เช่น เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แนวข้อสอบ

1. คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ระบบคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ต่างๆ กัน จะถูกนำมารวมไว้
เป็นระบบ องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่อ่านข้อมูลที่บันทึกไว้ในสื่อข้อมูลนำเข้า (Input Media) ซึ่งอยู่
ในรูปแบบต่างๆ กัน แล้วแปลงข้อมูลที่นำเข้าให้กลายเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ
ได้ แล้วส่งไปยังหน่วยความจำหลักของ CPU เพื่อประมวลผลข้อมูลต่อไป
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) ประกอบด้วย
2.1 หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่จำข้อมูลที่รับเข้ามีอยู่ 2 ประเภทคือ
- หน่วยความจำหลัก(Primary Storage) ถูกสร้างมาพร้อมกับตัวเครื่อง ไม่สามารถเคลื่อนย้าย
ได้ ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและคำสั่ง
- หน่วยความจำสำรอง(Secondary Storage) เป็นหน่วยความจำภายนอกเครื่อง เพื่อช่วยเก็บ
ข้อมูลเสริมจากหน่วยความจำหลัก
2.2 หน่วยคำนวณและตรรกะ(Arithmetic/Logic Unit : ALU) ประกอบด้วย
- การคำนวณทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ + , - , * , /
- เปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ ได้แก่ > , < , = , < >
2.3 หน่วยควบคุม(Controller หรือ Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมและประสานงาน ของระบบ
คอมพิวเตอร์ทั้งระบบ โดยทั่วไปแล้ว หน่วยความจำ หน่วยคำนวณและตรรกะ และหน่วยควบคุม
จะทำงานสัมพันธ์กัน จะขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไปไม่ได้ จึงเรียกว่า หน่วยประมวลผลกลาง
3. หน่วยแสดงผลลัพธ์(Output Unit) ทำหน้าที่รับสารสนเทศหรือข่าวสารในรูปของสัญญาณไฟฟ้าจาก
CPU แล้วแปลงข่าวสารนั้น ให้อยู่ในรูปแบบแสดงผลลัพธ์ในสื่อข้อมูลแบบต่างๆ ซึ่งการแสดง
ผลลัพธ์ แสดงได้ 2 แบบ คือ
- Hard Copy คือ การแสดงผลลัพธ์ที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ดูภายหลังได้ เช่น กระดาษ , Diskette
- Soft Copy คือ การแสดงผลลัพธ์ที่ไม่มีสำเนา และเก็บไว้ดูภายหลังไม่ได้ เช่น จอภาพ

2. ขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศมีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง จงอธิบาย
ขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ มีดังนี้
1. ขั้นการสำรวจ (Survey)
เป็นงานขั้นแรกที่กระทำ โดยนักวิเคราะห์จะสอบถามผู้บริหาร ซึ่งเป็นผู้ใช้งาน MIS ถึงความต้อง
การต่างๆ ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้เสนอแนะวิธีที่เป็นไปได้ในการแก้ปัญหา บางครั้งเรียกว่า การ
ศึกษาความเป็นไปได้ "Feasibility Study"
2. การวิเคราะห์โครงสร้าง (Structured Analysis)
เป็นขั้นตอนที่นำผลการศึกษาถึงความเป็นไปได้ รวมทั้งการสอบถามเพิ่มเติมจากผู้ใช้ MIS
เพื่อนำมาประเมินเกี่ยวกับงบประมาณและระยะเวลาในการออกแบบและใช้งาน MIS เอกสาร
จากการวิเคราะห์โครงสร้างมักอยู่ในรูปของกราฟ หรือ รูปภาพแสดงขั้นตอนต่างๆ
3. การออกแบบโครงสร้าง (Structured Design)
เป็นการพิจารณาจำนวนโปรแกรมที่จะใช้ภายในระบบ แต่ละโปรแกรมจะทำงานเป็นอิสระอยู่ใน
ลักษณะโมดูลโปรแกรม (Program Module)
4. การศึกษาถึงฮาร์ดแวร์ (Hardware Study)
การศึกษาถึงฮาร์ดแวร์ที่จะใช้ในระบบ MIS เป็นงานสองขั้นตอนที่สามารถดำเนินไปพร้อมๆ กัน
5. ขั้นตอนการจัดเตรียมอุปกรณ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Implementation)
เป็นขั้นตอนที่เปลี่ยนการทำงานจากระบบเดิมไปสู่ระบบใหม่ ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ซึ่งมี
ผู้บริหารงานจะต้องวิเคราะห์ความเหมาะสมว่าจะเปลี่ยนแปลงโดยวิธีใด
6. ขั้นเปลี่ยนไปใช้คอมพิวเตอร์ (Conversion)
เมื่อผ่านขั้นตอนการจัดเตรียมอุปกรณ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์แล้ว นำข้อมูลหรือโปรแกรม
ต่างๆ ลงเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะนำไปใช้งานต่อไป
7. การศึกษาปัญหาหลังการใช้ MIS และการบำรุงรักษา (Post Implementation and
Maintenance)
เป็นขั้นตอนการประเมินผลการใช้งานระบบใหม่ โดยนำไปเปรียบเทียบกับผลที่ได้จากการวิเคราะห์และการ
สำรวจ ว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด แล้วทำการปรับระบบหรือเปลี่ยนระบบให้เหมาะสม


3. จงบอกถึงประโยชน์ของ Internet มาโดยละเอียด
ประโยชน์ของ Internet มีดังนี้
1. เปิดโลกกว้างสู่แหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ทั่วโลก
2. ประโยชน์ทางด้านการศึกษา
- ยกระดับมาตรฐานการศึกษาทั่วประเทศ
- กระจายความเจริญและทรัพยากรทางด้านการศึกษาไปยังพื้นที่หรือจังหวัดห่างไกล
- เปิดโลกทัศน์ทางด้านการศึกษาของเยาวชนไทยให้กว้าง
- ข้อมูลที่ได้จะมาจากแหล่งข้อมูลจริง และทันต่อเหตุการณ์
- สร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา
- ทำให้เกิดห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) ซึ่งสามารถค้นคว้าข้อมูลได้ตามต้องการ
3. ประโยชน์ทางด้านธุรกิจ
- สร้างภาพพจน์ความเป็นผู้นำแก่กลุ่มธุรกิจ
- ความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร
- ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตมีความหลากหลายและกว้างขวางทำให้การประกอบธุรกิจเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ
- เพิ่มการบริการที่ดีแก่ฐานลูกค้าปัจจุบัน
- เพิ่มช่องทางการนำเสนอบริษัทและผลิตภัณฑ์ แก่
* สาธารณชน
* ตลาดสินค้าที่กว้างมากขึ้น
* เป็นช่องทางในการกระจายข้อมูลทั่วโลก
* ค่าใช้จ่ายในการสื่อสารข้อมูลต่ำ เมื่อเทียบกับการใช้โทรสารหรือโทรศัพท์ และการ
โฆษณา
4. ประโยชน์ทางด้านสังคม
- ส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
- ประหยังทรัพยากรที่มีคุณค่า
- สนับสนุนให้ประชากรมีทักษะในด้านคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น
- เพิ่มทางเลือกในการนำเสนอข้อมูลและเทคโนโลยี


4. Mobile Internet คืออะไร มีลักษณะอย่างไร จงอธิบาย
Mobile Internet หมายถึง ระบบ Internet เคลื่อนที่ หรือ Internet มือถือ
Mobile Internet ถือกำเนินมาจากแนวความคิดที่ว่าต้องการให้ USER สามารถเข้าถึงหรือค้นหา
ข้อมูลจาก Internet ได้ในทุกที่ทุกเวลา จึงได้เริ่มคิดค้นวิธีการที่จะสามารถทำให้โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถเข้า
สู่ Internet ได้ โดยเริ่มแรกนั้นจะเป็นการส่งข้อความข่าวสารสั้นๆ ถึงกันก่อน หรือ SMS (Short Message
System) ต่อจากนั้น ได้ให้บริการในการเชื่อมสัญญาณเข้ากับสถานีรถไฟและสนามบิน เพื่อรายงานตารางเวลา
เที่ยวบินหรือรอบโดยสารต่างๆ ให้แก่ลูกค้า โดยในยุคแรกๆ จะมุ่งหวังเพียงผลกำไร จากบริษัททัวร์ต่างๆ แต่
ต่อมาเมื่อ Internet ได้รับความนิยม จึงได้มีผู้เริ่มที่จะนำเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้ค้นหาข้อมูลใน Internet ได้
โดยบริษัท Nokia และ Ericson ได้ร่วมมือกันคิดค้น WAP (Wireless Application Protocal) เพื่อเป็น
ข้อตกลงร่วมกันสำหรับข้อมูลที่จะสามารถส่งผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้วไปค้นหาข้อมูลใน Internet
ลักษณะการทำงานของ Mobile Internet คือ
1. มี 2 ระบบ ในการสื่อสาร คือ
- ระบบวิทยุ
- ระบบ Internet เดิม
โดยเมื่อเราใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อจะค้นหาข้อมูลใน Internet ข้อมูลจะส่งด้วยคลื่นวิทยุออก
ไปโดย WAP จากนั้น WAP จะทำการแปลงสัญญาณโดยผ่าน WAP Server เพื่อให้เป็น TCP/IP ที่ส่ง
ข้อมูลแบบ HTTP เพื่อเข้าไปค้นหาข้อมูลใน Internet จากนั้นจะส่งผ่าน WAP Server เพื่อแปลงสัญญาณ
เป็นคลื่นวิทยุแล้วส่งกลับมายังโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ร้องขอไป
2. โทรศัพท์เคลื่อนที่จะต้องมีซิมการ์ด (SIM Card) ซึ่งเปรียบเสมือน IP Address ของเรา
3. ข้อมูลที่ได้จะกะทัดรัด และน้อยกว่า Internet เพราะอุปกรณ์แสดงผลและหน่วยความจำของ
โทรศัพท์เคลื่อนที่จะน้อยกว่าคอมพิวเตอร์
4. โทรศัพท์จะใช้งาน WAP จะต้องรับส่งข้อมูลเป็นแบบ Digital เท่านั้น


5. Windows XP คืออะไร มีลักษณะอย่างไร จงอธิบาย
Windows XP คือ ระบบปฏิบัติการวินโดว์ระบบใหม่
XP ย่อมาจาก Experience หมายถึง ประสบการณ์ใหม่ ซึ่งตัว Windows XP นี้ได้มีการรอง
รับการเปลี่ยนแปลงอินเทอร์เฟสใหม่ๆ ด้วยการใช้ Skin มีการทำงานที่เสถียรกว่าเก่า และที่สำคัญมีระบบ
รักษาความปลอดภัยที่แน่นหนากว่าเดิม
SAP : Secure Audio Path เป็นระบบที่ฝังไว้ในระดับเคอร์เนลของระบบ ซึ่งจะทำให้วินโดว์
เป็นแพลตฟอร์มที่เหมาะสมที่สุดที่นักดนตรีจะได้พบกับโลกใหม่แห่งเทคโนโลยีเพลงดิจิตอล โดยไม่ต้องห่วง
ว่าผลงานเพลงของตนจะถูกละเมิดลิขสิทธิ์อีกต่อไป
SAP สามารถทำงานโดยทำหน้าที่เป็นระบบรักษาความปลอดภัยและป้องกันเพลงดิจิตอล โดย
ใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสผ่านที่เรียกว่า Digital Right Management หรือ DRM ซึ่งจะทำให้เพลงที่ถูก
เข้ารหัสนั้นสามารถเปิดไฟล์เพลงได้เฉพาะผู้ที่มีสิทธิ์หรือได้รับอนุญาตเท่านั้น ยังป้องกันไม่ให้ผู้ที่มีสิทธิ์เปิด
ไฟล์เพลงนำเพลงไปปรับแต่ง ตัดต่อ หรือคัดลอกไฟล์เพื่อไปแจกจ่ายได้อีกด้วย แต่ใน Windows ME ก็ยัง
มีเฮกเกอร์เข้ามาขโมยลิขสิทธิ์และเจาะระบบ SAP ได้ จึงได้มีการพัฒนาขึ้นมาใหม่ โดยการส่งข้อมูลจะส่งโดย
ไม่ได้ถอดรหัสจนกว่าจะผ่าน DRM Component เพื่อตรวจสอบความถูกต้องจึงจะสามารถเล่นเพลงได้ โดย
จะผ่านการขออนุญาตผ่านไฟล์ดิจิตอลที่เรียกว่า licence โดยภายใน licence จะมีโค้ดสำหรับเปิดไฟล์
แพ็คเกจและระบุสิทธิ์ที่ได้รับอนุญาต เมื่อ DRM ตรวจสอบว่าไฟล์นั้นต้องการ licence และผู้ใช้มี licence
นั้นหรือไม่ ถ้ายังไม่มีจะแจ้งให้ขอ licence และเมื่อได้รับข้อมูลที่ถูกต้องแล้วเพลงนั้นถึงจะเปิดไฟล์เพลงนั้น
เล่นได้ นอกจากนี้ DRM ยังมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ ยอมให้ผู้ใช้ Backup licence เก็บไว้ แล้วสามารถนำ
ไปใช้ยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ แต่การใช้ licence นั้นจะมีข้อจำกัดด้านจำนวนการใช้ หมายถึง จะใช้ได้
เฉพาะที่กำหนดไว้เท่านั้น ถ้าเกินกำหนดจะใช้การไม่ได้อีก ไฟล์เพลงนั้นจะหยุดการทำงานทันที
Windows XP จึงมีส่วนสำคัญในธุรกิจด้านเพลงดิจิตอลหรือ MP3 เป็นอย่างมาก

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การลบพาติชั่น

การจัดแบ่ง พาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์ โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมช่วย (Windows XP)

การแบ่ง Partition ด้วย โปรแกรมใน Windows XP

หลายๆ ท่านคงอาจจะรู้แล้วนะว่า window xp มีเครื่องมือแบบนี้มาให้ แต่ว่าลูกเล่นคงไม่มากเท่าตัวโปรแกรมแบบที่ใช้แบ่งพาติชั่นโดยตรงหรอก แต่มันสามารถใช้แบ่งพาติชั่นแบบธรรมดาปกติได้ สำหรับคนที่ยังไม่รู้ เรามาดูกันเลยดีกว่า ว่าทำอย่างไร

การแบ่งหรือลบพาติชั่นมีหลายวิธี บางคนอาจใช้วิธี Fdisk บางคนอาจใช้โปรแกรมยอดนิยมอย่าง Patition Magic เท่าที่เคยใช้มา Fdisk เป็นวิธีที่เข้าท่ามากที่สุดแต่น่ารำคาญเพราะมันช้ามาก สำหรับ HDD แบบ ATA มีข้อเสียอีกตรงที่ว่า ทำได้แค่ FAT32 เท่านั้น อาจมีวิธีอื่นทำ NTFS ได้ ถ้าไม่ชำนาญจริงๆอย่าทำเลยเสียเวลานานสุดๆ

ต่อมาโปรแกรมยอดนิยมอย่าง Patition Magic ใช้ง่ายดีใช้กับ Window XP ได้ แต่ใช้กับ Window ME ไม่ได้น่ะมีปัญหาเพราะบางทีเราแบ่งไว้ซะดิบดีกลับลง Window MEไม่ได้ พอเข้าไป Fdisk ใน dos ดูกลับกลายเป็นว่ายังไม่ได้แบ่งไรเลย ไมเป็นงั้นไปได้หว่าไม่รู้เหมือนกัน ใน Window ยังเห็นนี่หว่างง?

และอีกวิธีหนึ่งคือที่จะนำเผยแผ่นี่แหละ ไม่ต้องไปหาโปรแกรมที่ใหนมาลงให้วุ่นวายเท่าที่ลองมา เห็นทั้งใน dos และใน Window แน่นอน และที่สำคัญใช้ง่ายเหมือน Patition Magic เลย แต่อย่ากดซี้ซั้วล่ะเดี๋ยวหาว่าไม่เตือน

ตัวทดลองคือ HDD ยี่ห้อ WESTERN ขนาด 850 MB เก็บได้ในห้องเก็บของ ร.ร เสียงดังแกร็กๆๆ และคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องที่ลง Window XP / 2003

1.ขั้นตอนแรกให้ต่อ HDD เข้ากับเครื่องให้มองเห็นซะก่อน



2.เข้าไปที่ Start>Control Panal>Administrative Tools>Computer Management



3.จะปรากฎหน้าต่าง Computer Management ขึ้นมาแล้วกดตรงคำว่า Disk Management ตรงกรอบด้านซ้ายมือ จะเห็นอุปกรณ์ที่ต่อกับช่อง IDE ทั้งหมด และแน่นอนเห็น HDD WESTERN ขนาด 850 MB ที่ต่ออยู่ด้วย



ที่แห็นอยู่มันเป็นแถบสีน้ำเงินแสดงว่ามันแบ่งพาติชันไว้เรียบร้อยแล้ว

4.ให้ คลิกขวา Delete Partition... ตอบ Yes จะกลายเป็นแถบสีดำและมีคำว่า Unallocated หมายความว่าหายหมดแล้ว จบขั้นตอนการลบง่ายๆเพียงไม่กี่คลิก



ต่อไปนี้จะเป็นการสร้าง Patition กันล่ะ ให้คลิกขวา Newpatition...



กด Next สั้นๆได้ใจความ




เลือก Primary partition (ปกติก้อเลือกอันนี้แหละ คำอธิบายมีให้อยู่แล้วอ่านเอาเองนะ) >แล้วกด Next



กรอกขนาดสำหรับสร้างพาติชั่นแรกของ HDD ตัวนี้ ใส่ขนาดเป็น MBในที่นี้จะสาธิตใส่แค่ 100MB จากขนาดเต็ม 812 MB ของท่านอาจจะมากกว่านี้ แล้วกด Next
1GB = 1024MB นะหลายคนอาจคิดว่า 1GB = 1000MB



ตรงช่อง Assign the following drive letter สามารถเลือกได้ว่าจะเป็นไดร์อะไร แนะนำไม่ต้องเลือกอะไรปล่อยไว้ตามเดิม แล้วกด Next



Do not format this partition = ไม่ต้องFormatเมื่อสร้าง patition แล้ว
Format this patition with the follow settings: = Format เลยเมื่อสร้าง patition แล้ว
สำหรับช่อง File system: จะมีให้เลือก3แบบคือ NTFS,FAT32 และ FAT
NTFS=ใช้เฉพาะ Windows XP/2003 ขึ้นไป เป็นระบบประสิทธิภาพสูง (แนะนำ)
FAT32=ใช้ ตั้งแต่ Windows 98/ME ลงมาใช้ NTFS ไม่ได้เพราะ Windows 98/ME
มันจะมองไม่เห็นระบบนี้มีปัญหาอยู่อย่างนึง คือไฟล์ที่ใหญ่เกิน4GBขึ้นไปจะมองเห็นเป็น 3.99GB หมดเลย
FAT= ไม่ต้องไปสนใจมันเขาเลิกใช้ไปนานแล้ว ระบบนี้คงจะเจอใน FDD หรือ Flash Drive บางยี่ห้อ สำหรับใน HDD ไม่แนะนำให้ใช้

สำหรับช่อง Allocation unit size ไม่ต้องสนใจให้ใส่ Default
สำหรับช่อง Volume label = ชื่อไดร์ของคุณใส่อะไรก้อได้ หรือไม่ต้องใส่ก้อได้มันจะตั้งชื่อให้ว่าLocal Disk เสมอ

Perform a quick format = ถ้าขี้เกียจรอให้ติ๊กถูกมัน(แนะนำ) จะทำการ format แบบเร็ว

>แล้วกด Next>Finish แล้วรอสักแปปเพื่อรอมัน format เสร็จ



จะได้พาร์ติชันขนาดตามที่กำหนด



ส่วนพื้นที่ที่เหลือจัดการตามวิธีที่แนะนำมา งงไม่หล่ะ? งั้น เลื่อนขึ้นไปอ่านใหม่แล้วกัน

1. เลือกที่ Start / Settings / Printers and Faxes จะได้หน้าจอดังรูปภาพ


2. เลือก Add a printer จะได้รูปตามข้อ 3เป็นการเลือกเพื่อติดตั้งเครื่อง Printer ใหม่

3. เป็นหน้าจอที่แจ้งการเข้าสู่การติดตั้งเครื่อง Printer โดยการเลือก Next

4.ได้หน้าจอ Add Printer Wizard ให้เลือกติ๊กที่ Local printer attached to this computer แล้วเลือก Next

5. ได้หน้าจอที่ทำการรันข้อมูลเพื่อทำการติดตั้งโปรแกรมรอจนกว่าจะมีข้อมูลขึ้นมาดังภาพแล้วเลือก Next

6.ได้หน้าจอที่จะให้เราทำการเลือก Port ในการต่อสายเครื่อง printer เลือก Port ตามที่เราได้ทำการต่อสายนั้นเลือก Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

7.ได้หน้าจอ Add Printer Wizard เพื่อทำการเลือกยี่ห้อของเครื่อง Printer และรุ่นด้วยเลือกได้แล้วเลือก Next

8.ได้หน้าจอ Add Printer Wizard เพื่อใส่ชื่อเครื่อง Printer ตามที่ต้องการแล้วเลือก Next

9.จะได้หน้าจอดังภาพเพื่อเลือกให้เป็นเครื่องที่สามารถ Share เครื่องเพื่อให้เครื่องอื่นสามารถใช้งานได้ให้เลือก Share nameหรือเป็นการใช้งานเพียงเครื่องเดียวให้เลือกที่ Do not share this printer แล้วเลือก Next

10.เป็นหน้าจอที่แสดงขึ้นมาเพื่อสอบถามเราว่าต้องการที่จะทำการทดสอบการปลิ้นข้อมูลหรือไม่ ถ้าต้องต้องการทดสอบให้เลือก Yes ถ้าไม่ต้องการทดสอบให้เลือก No แล้วกด Next

11.ได้หน้าจอที่แจ้งการติดตั้ง Printer สำเร็จ แล้วกด Finish สามารถทำการปลิ้นได้ตามความต้องการค่ะ

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ขั้นตอนการ Add Printer มีขั้นตอนอย่างไร
A:มีขั้นตอนดังนี้
1. เลือกที่ Start / Settings / Printers and Faxes จะได้หน้าจอดังรูปภาพ

2. เลือก Add a printer จะได้รูปตามข้อ 3เป็นการเลือกเพื่อติดตั้งเครื่อง Printer ใหม่

3. เป็นหน้าจอที่แจ้งการเข้าสู่การติดตั้งเครื่อง Printer โดยการเลือก Next

4.ได้หน้าจอ Add Printer Wizard ให้เลือกติ๊กที่ Local printer attached to this computer แล้วเลือก Next

5. ได้หน้าจอที่ทำการรันข้อมูลเพื่อทำการติดตั้งโปรแกรมรอจนกว่าจะมีข้อมูลขึ้นมาดังภาพแล้วเลือก Next

6.ได้หน้าจอที่จะให้เราทำการเลือก Port ในการต่อสายเครื่อง printer เลือก Port ตามที่เราได้ทำการต่อสายนั้นเลือก Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

7.ได้หน้าจอ Add Printer Wizard เพื่อทำการเลือกยี่ห้อของเครื่อง Printer และรุ่นด้วยเลือกได้แล้วเลือก Next

8.ได้หน้าจอ Add Printer Wizard เพื่อใส่ชื่อเครื่อง Printer ตามที่ต้องการแล้วเลือก Next

9.จะได้หน้าจอดังภาพเพื่อเลือกให้เป็นเครื่องที่สามารถ Share เครื่องเพื่อให้เครื่องอื่นสามารถใช้งานได้ให้เลือก Share nameหรือเป็นการใช้งานเพียงเครื่องเดียวให้เลือกที่ Do not share this printer แล้วเลือก Next

10.เป็นหน้าจอที่แสดงขึ้นมาเพื่อสอบถามเราว่าต้องการที่จะทำการทดสอบการปลิ้นข้อมูลหรือไม่ ถ้าต้องต้องการทดสอบให้เลือก Yes ถ้าไม่ต้องการทดสอบให้เลือก No แล้วกด Next

11.ได้หน้าจอที่แจ้งการติดตั้ง Printer สำเร็จ แล้วกด Finish สามารถทำการปลิ้นได้ตามความต้องการค่ะ

1. เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot Matrix Printer)

เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์เป็นเครื่องพิมพ์ที่นนิยมใช้งานกันแพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากราคา และคุณภาพการพิมพ์อยู่ในระดับที่เหมาะสม การทำงานของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ใช้หลักการสร้างจุด ลงบน กระดาษโดยตรง หัวพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ มีลักษณะเป็นหัวเข็ม (pin) เมื่อต้องการพิมพ์สิ่งใดลงบนกระดาษ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งที่ประกอบกันเป็น ข้อมูลดังกล่าวจะยื่นลำหน้าหัวเข็มอื่น เพื่อไปกระแทกผ่านผ้าหมึก ลงบนกระดาษ ก็จะทำให้เกิดจุดขึ้น การพิมพ์แบบนี้จะมีเสียงดัง พอสมควร ความคมชัดของข้อมูลบน กระดาษขึ้นอยู่กับจำนวนจุด ถ้าจำนวนจุดยิ่งมากข้อมูลที่พิมพ์ลงบนกระดาษก็ยิ่งคมชัดมากขึ้น ความเร็ว ของเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์อยู่ระหว่าง 200 ถึง 300 ตัวอักษรต่อวินาที หรือประมาณ 1 ถึง 3 หน้าต่อนาที เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ เหมาะสำหรับงานที่พิมพ์แบบฟอร์มที่ต้องการซ้อนแผ่นก๊อปปี้ หลาย ๆ ชั้น เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ ใช้กระดาษต่อเนื่องในการพิมพ์ ซึ่งกระดษาประเภทนี้จะมีรูข้างกระดาษทั้งสองเอาให้ หนามเตยของเครื่องพิมพ์เลื่อนกระดาษ

ทดลอง

http://saran22com.blogspot.com/

วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิจัยชั้นเรียน อาจารย์ศรัณย์ จิตโสภา




โครงงานวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง การใช้ ชุด กฎ กติกา เงื่อนไขในการการเช็คเวลาเรียนเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการเข้าเรียน
ของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชชาชีพ ปีที่3/5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553

ชื่อผู้วิจัย นายศรัณย์ จิตโสภา
โรงเรียนพงษ์สวัสดิพณิชยการ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 1


ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในการเข้าเรียนของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพในรอบปีที่ผ่านมามีนักเรียนเข้าเรียนไม่ตรงเวลาและนักเรียนบางคนไม่เข้าเรียน ส่งผลให้นักเรียนที่เข้าเรียนไม่ทัน และหนีเรียนไม่เข้าใจในเนื้อหา ความรู้ในบทเรียน ไม่ครบถ้วนตามกระบวนการ ทำให้เวลาทำการเรียนการสอนนักเรียนเกิดความไม่เข้าใจในเนื้อหาแบบเรียน ตอบคำถามไม่ได้ในเรื่องที่ทำการเรียนการสอน เมื่อมอบหมายงานให้ทำและทำการทดสอบมีผลการทดสอบไม่เป็นที่น่าพอใจ อีกทั้งนักเรียนที่เข้าช้ามักชักชวนเพื่อนคนอื่น ๆ ให้เข้าช้าหรือหนีเรียนอีกด้วย และเวลาที่เข้าเรียนช้าก็จะทำการพูดคุยกับเพื่อนทำให้รบกวนการเรียนของเพื่อนในห้องเรียนด้วย เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นจากการเข้าเรียนช้า จึงออกแบบ กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียนเพื่อแก้ไขปัญหา ปรับปรุง และพฤติกรรมอันไม่เหมาะสม ดังกล่าว

วัตถุประสงค์ในการจัดทำ
1. เพื่อแก้ไขปรับปรุงพฤติกรรมการเข้าเรียนช้าและหนีเรียนของนักเรียน รายวิชาฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้น
2. เพื่อพัฒนาความเข้าใจในการเรียนและผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักเรียน รายวิชาฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้น

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลาและไม่หนีเรียน
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
3. ลดพฤติกรรมอันเกิดจากการหนีเรียนของนักเรียน เช่น การลักขโมย การหนีไปสูบบุหรี่ หรือสารเสพติดต่าง ๆ
4. ทำเกิดความมีระเบียบวินัยในการเข้าเรียนและความเป็นระเบียบของสถานศึกษา

การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
กระบวนการเรียนการสอน สื่อจัดว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้กระบวนการเรียนการสอนครบบริบูรณ์และยังอาจกล่าวได้ว่าเป็นตัวชี้ถึงประสิทธิภาพของการเรียนการสอนในครั้งนั้น ๆ อีกด้วย เพราะตัวสื่อจะเป็นตัวการสำคัญที่นำเอาความรู้และประสบการณ์เข้าไปสู่การรับรู้ของผู้เรียน ซึ่งการรับรู้นี้เองที่ครูผู้สอนจะเลือกช่องทางให้ถูกต้อง มิฉะนั้นแล้วความรู้และประสบการณ์ทั้งหมดจะไม่สามารถเกิดขึ้นแก่ผู้เรียนได้ตามประสงค์ของครูผู้สอน ประสาทสัมผัสที่รับรู้ได้แม้มีเพียง 5 ประการ ได้แก่ การรับรู้ทางตา การรับรู้ทางเสียง การรับรู้ทางสัมผัส การรับรู้ทางรส และการรับรู้ทางกลิ่น แต่ในทางปฏิบัติแล้ว จะพบว่ามีการเลือกใช้การรับรู้ไม่เหมาะสมกันมากอันเนื่องมาจากยึดเอาความสะดวกคุ้นเคยของผู้สอน เช่น การใช้การบรรยายในการสอนเพื่ออธิบายรูปทรงของเคส เพื่อเปรียบเทียบลักษณะของลักษณะการใช้งาน ราคา เคสแต่ละรุ่น เป็นต้น ซึ่งคงจะเห็นได้ว่าผู้เรียนจะรับรู้และเกิดผลของการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างแน่นอน เพราะภาพนึกจากการฟังจะถูกแปลความหมายไปตามประสบการณ์เดิมของผู้เรียนซึ่งก็ย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรจะต้องนำภาพมาใช้ประกอบการบรรยายดังกล่าวด้วย จึงจะสามารถชี้ให้เห็นความเหมือนหรือความแตกต่างของสถาปัตยกรรมได้อย่างชัดเจน ประเด็นนี้คงจะสรุปได้ว่าความสมบูรณ์ของกระบวนการเรียนการสอนจำเป็นต้องให้ความสำคัญในองค์ประกอบของแต่ละส่วน โดยเฉพาะในส่วนของสื่อการสอนนั้น ในแนวคิดด้านเทคโนโลยีการศึกษาจะถือว่าสื่อการสอน คือ การทำให้ความเป็นนามธรรมไปสู่ความเป็นรูปธรรม
วิธีการ ได้แก่ สิ่งที่ใช้เทคนิคเป็นพิเศษเฉพาะ เช่น การจัดกิจกรรมต่าง ๆ เกมการศึกษา ศูนย์การเรียน การทดลอง ทัศนศึกษา สถานการณ์จำลอง แหล่งความรู้ชุมชน เป็นต้น การจัดประเภทของสื่อการสอนอีกลักษณะหนึ่งเน้นพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยถือว่าสิ่งใดๆ ก็ตามที่สามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นโดยทางตรง หรือทางอ้อมก็ตาม ถือได้ว่าสื่อเป็นแหล่งรวมของความรู้ แหล่งความรู้ มี 4 ลักษณะ ได้แก่
1. แหล่งความรู้ที่เกิดจากครูผู้สอน โดยยึดเอาครูผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้โดยตรง ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งจะโดยวิธีการใดก็ตาม การยึดเอาผู้สอนเป็นศูนย์กลางว่าเป็นสื่อ เช่นนี้ เพราะมีความเชื่อว่าคนก็เป็นสื่อประเภทหนึ่งที่สามารถแพร่ความรู้ไปสู่ผู้รับสาร สื่อบุคคลจะเป็นสื่อที่มีคุณค่ามากที่สุด เพราะเป็นแหล่งความรู้ที่กว้างขวาง สามารถมีปฏิสัมพันธ์ขณะถ่ายทอดประสบการณ์ และปรับสภาพให้เหมาะสมได้กับทุกสถานการณ์และจัดกิจกรรมการเรียนได้ทุกรูปแบบ และทุก พฤติกรรมอันได้แก่ พุทธพิสัย เจตพิสัย และทักษะพิสัย และที่สำคัญครูเป็นสภาพของมนุษย์มีความรู้สึก มีชีวิตจิตใจ คุณธรรม ซึ่งหาจากสื่ออื่น ๆ ไม่ได้
2. แหล่งความรู้ที่เกิดจากผู้เรียน โดยกำหนดให้ผู้เรียนเป็นแหล่งความรู้ ด้วยความเชื่อที่ว่า “ทุกคนมีความรู้และประสบการณ์” และความรู้ในประสบการณ์ระหว่างผู้เรียนเอง เป็นความรู้ที่มีความเรียบง่าย เข้าใจง่าย และเป็นช่วงของวัยวุฒิที่เหมาะสมตรงตามสภาพที่เป็นจริง และวิธีการหาความรู้เป็นประสบการณ์ตรงของผู้เรียนเอง ซึ่งจะทำให้องค์ประกอบของการเรียนรู้ เช่น ระดับความรู้ ภาษาการสื่อสาร บรรยากาศเป็นไปตามธรรมชาติของการเรียนรู้จริง ซึ่งโดยหลักของการเรียนรู้แล้วถือได้ว่าเป็นการเรียนรู้ที่ได้จรากการกระทำด้วยตนเอง อันจะเป็นผลถึงความเข้าใจ ความคล่องแคล่ว และความรู้สึกที่เป็นพฤติกรรมที่ถาวร และเป็นการปลูกฝังให้สามารถหาความรู้ได้ด้วยตนเองตลอดเวลา
3. แหล่งความรู้ที่เกิดจากสื่อเป็นศูนย์กลาง ได้แก่ การใช้สื่อการสอน เป็นตัวกลางการถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้เรียน โดยทั่วไปจะเป็นสื่อสำเร็จทั้งที่เป็นสื่อระบบและสื่อไม่เป็นระบบ การใช้สื่อเป็นศูนย์กลางเช่นนี้จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนรู้ได้ตลอดเวลา โดยมีการจัดระบบของการเรียนรู้ไว้ให้ เช่น การอ่านจากตำรา การใช้ห้องสมุด การเรียนด้วยบทเรียนโปรแกรม สไลด์ วีดิทัศน์ ซีดี-รอม ความรู้จากสื่อประเภทนี้ แม้จะเป็นแบบเนื้อหาตายตัว แต่ก็สามารถใช้เรียนรู้และทบทวนได้ตามความต้องการ และการใช้สื่อเป็นศูนย์กลางนี้หากได้มีการออกแบบให้เป็นสื่อประสม(Multi Media) ก็จะส่งเสริมให้ได้ใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ได้หลายอย่างอีกด้วย อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะยอมรับในความสำคัญของแหล่งความรู้ที่เกิดจากสื่อเป็นศูนย์กลางได้ก็จริง แต่ก็มีผู้ให้ข้อสังเกตว่า “สื่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่อาจพัฒนาขึ้นสอนแทนคนได้ แต่ต้องให้มีการสอนกันอย่างมีชีวิตชีวา” (ฟิลลิป แจกสัน, 1968)
4. แหล่งความรู้ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การนำเอาสภาพแวดล้อมมาเป็นแหล่งความรู้ อันได้แก่ อาคารสถานที่ สวนป่า สวนสาธารณะ ชุมชน องค์ประกอบชุมชน การนำสิ่งแวดล้อมมาเป็นสื่อการสอนประเภทหนึ่งโดยยึดหลักการที่ว่า “ความรู้มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง” ถ้าได้มีการพิจารณากันอย่างถ่องแท้ก็จะเข้าใจว่า ธรรมชาติเป็นแหล่งความรู้ที่แท้จริง มีความเป็นจริงในเชิงธรรมะที่เป็นธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ ต้นไม้ให้ความรู้ โครงสร้างของต้นไม้ กิ่ง ใบ ดอก ลำต้น การเจริญเติบโตและแผ่กิ่งก้านสาขาปกคลุมพื้นดินให้ชุ่มชื่นสร้างความร่มรื่นแก่บริเวณใกล้เคียง ข้อความที่ขีดเส้นต้นเมื่อขยายความคิดต่อไปอีกก็คือ ความร่มรื่นนั้นลดอุณหภูมิ อันจะเป็นผลต่อไปถึงการลดใช้พลังงานไฟฟ้าที่จะต้องนำไปใช้กับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น พัดลมและเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น บ้านเรือน ชุมชน ที่สาธารณะใช้พลังงานกันทั้งสิ้น ฉะนั้นถ้าจะต้องศึกษาในเรื่องของพลังงานสามารถออกไปศึกษาสำรวจเก็บข้อมูลต่างๆ ได้หลากหลาย และเป็นข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Source) และเป็นสื่อที่ครู นักเรียน ไม่ต้องไปผลิตขึ้นมาเพียงแต่ต้องวางแผนจัดกิจกรรม ทัศนศึกษาดูงาน อันเป็นกลุ่มวิธีการของสื่อการสอนอย่างหนึ่งก็สามารถก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สื่อประเภทต่างๆ ที่ยกมากล่าวเป็นตัวอย่างข้างต้นนี้ หากจะได้ทำความเข้าใจอย่างชัดเจนแล้วเชื่อได้ว่าในการเรียนการสอนจริงสามารถนำไปใช้เป็นสื่อการสอนในเชิงเทคโนโลยีการศึกษาได้และเมื่อถึงวันนั้นเราคงไม่ขาดแคลนสื่อการสอนอย่างแน่นอน
สมมุติฐานสำหรับการวิจัย
เมื่อใช้ ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3/5 จะทำให้นักเรียนเข้าเรียนตรงเวลาและไม่หนีเรียน พัฒนาการเรียนของนักเรียนและลดพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมที่เกิดจากการหนีเรียน
ขอบเขตของการวิจัย
1. การวิจัยพัฒนาครั้งนี้เป็นการสร้างชุด กฎ กติกาและเงื่อนไขในการเช็คเวลาเข้าเรียนของ นักเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553
2. ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3/5 ที่เรียนในรายวิชา ฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้ โรงเรียนพงษ์สวัสดิ์พณิชยการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553

นิยามศัพท์ในการวิจัย
1. ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน หมายถึง แบบเช็คเวลาที่ จัดทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการเข้าเรียนช้าของนักเรียน ประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3/5
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่นักเรียนได้รับจากการทดสอบแบบทดสอบ ที่ครูสร้างขึ้น

วิธีดำเนินการวิจัย
1. วางแผนการจัดทำชุด ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
2. ศึกษาองค์ประกอบที่มีผลต่อการแก้ไขพฤติกรรมการเข้าเรียนช้าหรือหนีเรียนของนักเรียน
3. รวบรวมข้อมูลการจัดทำชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
4. วางแบบขั้นตอนการใช้งานชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
5. จัดทำชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
6. ใช้ ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
7. ประเมินผลโดยแบบทดสอบ แบบสังเกตพฤติกรรมและแบบสำรวจการเข้าเรียน
8. สรุปผลการใช้ ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
9. ปรับปรุงและพัฒนาชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป

กลุ่มตัวอย่าง
3. กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3/5 ที่เรียนในรายวิชา ฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้ โรงเรียนพงษ์สวัสดิ์พณิชยการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553


การวิเคราะห์และประเมินผลการเรียนรู้
1. การสังเกต
2. แบบสำรวจการเข้าเรียน
3. การประเมินผลสภาพจริง
พฤติกรรมการเรียนรู้ การตอบคำถาม การทำแบบฝึกหัด
ปฏิทินการวิจัย
1. ขั้นการวิจัย (ภาคเรียนที่ 2 พฤศจิกายน – มกราคม 2553 )
1. วางแผนการจัดทำชุด ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียน
2. ศึกษาองค์ประกอบที่มีผลต่อการแก้ไขพฤติกรรมการเข้าเรียนช้าหรือหนีเรียน
3. รวบรวมข้อมูลการจัดทำชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียน
4. วางแบบขั้นตอนการใช้งานชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียน
5. จัดทำชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
2. ใช้ ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
3. ขั้นประเมินผลโดยแบบทดสอบ แบบสังเกตพฤติกรรมและแบบสำรวจการเข้าเรียน
( พฤศจิกายน – มกราคม 2553 )
4. สรุปผลการใช้ ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
ปรับปรุงและพัฒนาชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป

เอกสารอ้างอิง
ธีระพัฒน์ ฤทธิ์ทอง . วิจัยอย่างง่ายของครู , 2542 . เอกสารอัดสำเนา
นภดล เจนอักษร, ACTION RESEARCH : การวิจัยของครู . เอกสารอัดสำเนา. 2542 .
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ” หลักการเขียนรายงานทางวิชาการ” การวิจัย การวัดและ
ประเมินผล กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยมหิดล ,2533.
วิชาการ กรม กระทรวงศึกษาธิการ. การวิจัยเชิงพัฒนา ระดับโรงเรียน ,กรุงเทพมหานคร
โรงพิมพ์คุรุสภา , 2536.

งานที่จะใช้ประกอบการสอบ เรื่องระบบเครือข่าย

http://www.tempf.com/getfile.php?id=980177&key=4e1124f49dc59

ให้นักเรียนทำข้อสอบ

ข้อสอบวิชาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ตอนที่ 1 จงอธิบายข้อต่อไปนี้

1. จงอธิบายความหมายของระบบเครือข่าย พอเข้าใจ
2. จงบอกถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการนำคอมพิวเตอร์ต่างๆ มาต่อเชื่อมเป็นระบบเครือข่าย
3. จงบอกถึงสิ่งที่จำเป็นและขาดไม่ได้ในการนำคอมพิวเตอร์มาต่อเป็นระบบเครือข่าย และอธิบายด้วยว่าส่วนประกอบนั้น ๆ มีความสำคัญอย่างไร
4. องค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง จงบอกเป็นข้อ ๆ พร้อมอธิบาย
5. จงบอกถึงข้อดีข้อเสียของการเชื่อมต่อ LAN แบบ BUS แบบ RING และแบบ STAR โดยแยกแต่ละแบบ

ตอนที่ 2 จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียวแล้วทำเครื่องหมาย X ลงในกระดาษคำตอบ

1. เครือข่ายระดับต่อไปนี้ สามารถติดต่อส่งข้อมูลระหว่างเครื่องได้ไกลที่สุด
ก. เครือข่าย MAN
ข. เครือข่าย WAN
ค. เครือข่าย LAN
ง. ทุก ๆ เครือข่ายสามารถส่งข้อมูลได้ไกลเหมือน ๆ กัน ซึ่งอยู่ที่สายสัญญาณ

2. ข้อใดกล่าวถึงการทำงานแบบ Multiuser
ก. สามารถเปิดใช้คอมพิวเตอร์ได้ทีละหลาย ๆ เครื่อง
ข. สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทีละหลาย ๆ หลาย ๆ โปรแกรม
ค. สามารถใช้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ทีละหลาย ๆ งาน
ง. สามารถใช้คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกันพร้อม ๆ กัน และใช้โปรแกรมได้ทีละหลาย ๆ โปรแกรม

3. ข้อใดเป็นความสามารถของคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Multiprocessing
ก. สามารถเปิดใช้คอมพิวเตอร์ได้ทีละหลาย ๆ เครื่อง
ข. สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทีละหลาย ๆ หลาย ๆ โปรแกรม
ค. สามารถใช้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ทีละหลาย ๆ งาน
ง. สามารถใช้คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกันพร้อม ๆ กัน และใช้โปรแกรมได้ทีละหลาย ๆ โปรแกรม

4. เครือข่ายระดับใดมักใช้สัญญาณดาวเทียมช่วยในการสื่อสาร
ก. เครือข่าย MAN
ข. เครือข่าย WAN
ค. เครือข่าย LAN
ง. ถูกทุกข้อ

5. ระบบเครื่อข่ายประเภทใดในปัจจุบันเป็นที่นิยมมากที่สุด
ก. เครือข่าย MAN
ข. เครือข่าย WAN
ค. เครือข่าย LAN
ง. เครือข่าย SAN

6. จากคำตอบข้อที่ 5 ข้อจำกัดของเครือข่ายประเภทนี้คือข้อใด
ก. ความเร็วต่ำ
ข. เชื่อมต่อในพื้นที่ที่จำกัด
ค. เชื่อมต่อในระยะทางที่จำกัด
ง. เชื่อมต่อเครือข่ายค่อนข้างซับซ้อน

7. เครือข่ายประเภทใดไม่มีมาตรฐานกำหนดให้ชัดเจน
ก. MAN
ข. WAN
ค. LAN
ง. SAN

8. ข้อใดกล่าวผิด
ก.เครือข่ายไร้สายมีความเร็วที่ต่ำกว่าเครือข่ายท้องถิ่น
ข. เครือข่ายท้องถิ่นมีขนาดเล็กกว่าเครือข่าย MAN
ค. เครือข่าย WAN เป็นเครือข่ายที่สามารถเลือกหนทางการส่งข้อมูลได้หลายวิธี
ง. เครือข่ายแบบไร้สายเป็นเครือข่ายที่มีข้อผิดพลาดในการส่งข้อมูลน้อย

9. ข้อใดหมายถึง โปรโตคอล
ก. รูปแบบการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย
ข. มาตรฐานการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ค. ภาษากลางที่ใช้สื่อสารเพื่อติดต่อกันในเครือข่าย
ง. คุณสมบัติหนึ่งของมาตรฐาน IEEE 802
10. ISO โมเดล คือข้อใด
ก. องค์การระหว่างประเทศเพื่อกำหนดรูปแบบการติดต่อเครือข่าย
ข. มาตรฐานการสื่อสารคอมพิวเตอร์ระบบเปิด
ค. วิธีการเชื่อมต่อเครือข่ายวิธีหนึ่ง
ง. สมาคมเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลบนเครือข่าย

11. ข้อใดกล่าวถึง IEEE ได้ถูกต้องที่สุด
ก. เป็นสถาบันกำหนดมาตรฐานของโปรโตคอล ที่ใช้เชื่อต่อ LAN
ข. วิธีการเชื่อต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ค. สมาคมเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ง. องค์การระหว่างประเทศเพื่อกำหนดระดับของเครือข่าย

12. สิ่งใดในเครือข่ายที่ผู้ใช้ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้
ก. File Sever
ข. Network Interface Card
ค. Printer
ง. Application

13. Wirless LAN หมายถึงข้อใด
ก. เครือข่าย LAN ที่ใช้สาย UTP ในการเชื่อมต่อ
ข. เครือข่าย LAN ที่ใช้สาย Coxcial ในการเชื่อมต่อ
ค. เครือข่าย LAN ที่ใช้สาย Fiber Optic ในการเชื่อมต่อ
ง. เครือข่ายที่ไม่ใช้สายในการเชื่อมต่อแต่ใช้คลื่นวิทยุแทน

14. ข้อใดกล่าวถึงประโยชน์ของเครือข่าย LAN ไม่ถูกต้อง
ก. การใช้อุปกรณ์เก็บข้อมูลร่วมกัน หมายถึง การเก็บข้อมูลที่ File Sever
ข. การใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงร่วมกัน หมายถึง การใช้อุปกรณ์ทุก ๆ อุปกรณ์ที่ต่อเชื่อมในระบบ
ค. การใช้งานในลักษณะผู้ใช้หลาย ๆ คน ผู้ใช้ทุกคนใช้โปรแกรมหรือข้อมูลทุกอย่างจากทุก ๆ แหล่งข้อมูลในระบบเครือข่าย
ง. การใช้โปรแกรมร่วมกัน หมายถึง ตัวโปรแกรมเป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับ LAN ได้โดยติดตั้งที่เครื่อง Sever เพียงแหล่งเดียว และ Sever จะคอยบริการซอฟต์แวร์ให้กับคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย
15. สิ่งใดต่อไปนี้มีความจำเป็นต้องใช้ในการเชื่อต่อเครือข่ายแบบ BUS น้อยที่สุด
ก. LAN Card
ข. Network Operating System
ค. HUB
ง. Topology

16. อุปกรณ์ในข้อใดทำหน้าที่แปลงสัญญาณจากสัญญาณอนาล๊อคเป็นสัญญาณดิจิตอลหรือจากสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณอนาล๊อค
ก. User Card
ข. LAN Card
ค. Network Interface Card
ง. ข้อ ข. และ ค. ถูก

17. สายสัญญาณใดมีความสามารถในการส่งสัญญาณเร็วที่สุด
ก. Coaxial Cable
ข. Shielded Twisted Pair Cable
ค. Unshielded Twisted Pair Cable
ง. Fiber Optic Cable

18. สายโคแอ๊กเชียลมีโครงสร้างที่เหมือนกับสายใดในบ้านเรา
ก.สายโทรศัพท์
ข. สายอากาศทีวี
ค. สายไฟ
ง. สายลวดทองแดง

19. สายคู่บิดเกลียวมีโครงสร้างที่เหมือนกับสายใดในบ้านเรา
ก.สายโทรศัพท์
ข. สายอากาศทีวี
ค. สายไฟ
ง. สายลวดทองแดง

20. ข้อดีของสายคู่บิดเกลียวคือ
ก. ราคาแพง
ข. เป็นสายที่เปราะและหักในได้ง่าย
ค. เกิดสัญญาณรบกวนได้ง่าย
ง. ถูกทั้งข้อ ข. และ ค

21. สายสัญญาณประเภทใดที่มีราคาแพงที่สุด
ก. สายโคแอ๊กเชียล
ข. สายไฟเบอร์ออฟติก
ค. สายยูทีพี
ง. สายเอสทีพี

22 ข้อใดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมเครือข่ายสองระบบเข้าด้วยกัน
ก. HUB
ข. Connecter
ค. Router
ง. Conectrator

23. Terminator มีหน้าที่อย่างไร
ก. เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อหัวเข้ากับสาย
ข. อุปกรณ์ที่ใช้ปิดสัญญาณหัวท้ายเครือข่ายเพื่อป้องกันสัญญาณรั่ว
ค. แผงวงจรที่เสียบกับเครื่องเพื่อเชื่อมสายต่อเป็นเครือข่าย
ง. อุปกรณ์ศูนย์กลางของสายส่งสัญญาณรับทาวงเดียวออกหลายทาง หรือรับหลายทางออกทางเดียว

24. HUB หมายถึงข้อใด
ก. เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อหัวเข้ากับสาย
ข. อุปกรณ์ที่ใช้ปิดสัญญาณหัวท้ายเครือข่ายเพื่อป้องกันสัญญาณรั่ว
ค. แผงวงจรที่เสียบกับเครื่องเพื่อเชื่อมสายต่อเป็นเครือข่าย
ง. อุปกรณ์ศูนย์กลางของสายส่งสัญญาณรับทาวงเดียวออกหลายทาง หรือรับหลายทางออกทางเดียว

25. ข้อใดเป็นลักษณะของสาย UTP
ก. เหมือนสายสัญญาณโทรศัพท์มีทองแดงอยู่ตรงแนวกลางหุ้มด้วยฉนวนและสายดิน
ข. เหมือนสายโทรศัพท์ตามบ้านภายในประกอบด้วยสายทองแดง 4 เส้น และหุ้มด้วยฉนวนภายนอก
ค. คล้ายสายโทรศัพท์ตามบ้านภายในประกอบด้วยสายทองแดง 8 เส้น
ง. คล้ายสายโทรศัพท์ตามบ้านภายในประกอบด้วยสายทองแดง 8 เส้น ด้านนอกมีฉนวนหุ้ม

26. ข้อใดกล่าวถึง Topology ได้ถูกต้อง
ก. เหมือนสายสัญญาณโทรศัพท์มีทองแดงอยู่ตรงแนวกลางหุ้มด้วยฉนวนและสายดิน
ข. เหมือนสายโทรศัพท์ตามบ้านภายในประกอบด้วยสายทองแดง 4 เส้น และหุ้มด้วยฉนวนภายนอก
ค. คล้ายสายโทรศัพท์ตามบ้านภายในประกอบด้วยสายทองแดง 8 เส้น
ง. คล้ายสายโทรศัพท์ตามบ้านภายในประกอบด้วยสายทองแดง 8 เส้น ด้านนอกมีฉนวนหุ้ม

27. หากระบบเครือข่ายที่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ใดที่ทำให้ระบบนั้นสามารถเชื่อมโยงกันได้
ก. Router
ข. Geteway
ค. Repeater
ง. Bridge

จงใช้คำตอบต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 28- 30
ก. การเชื่อมต่อที่ทุก ๆ work Station จะใช้สายในการเดินทางข้อมูลร่วมกัน
ข. การเชื่อมต่อที่ทุก ๆ work Station มาเชื่อมต่อรวมกันกับอุปกรณ์ตัวกลาง
ค. การเชื่อมต่อที่ทุก ๆ work Station มาเชื่อมกัน ซึ่งมีลักษณะคล้ายวงกลม
ง. การเชื่อมต่อที่ทุก ๆ work Station มารวมกัน โดยใช้รูปแบบวิธีการของข้อ ก ข ค มาต่อแบบผวมผสาน

28. การเชื่อต่อเครือข่ายแบบ Ring
29. การเชื่อต่อเครือข่ายแบบ Bus
30. การเชื่อต่อเครือข่ายแบบ Star

31. Topology แบบใดที่ต้องมีสายสัญญาณเท่ากับหรือมากกว่าจำนวนเครื่องที่ใช้งานในเครือข่าย
ก. BUS
ข. STAR
ค. RING
ง. Ethernet

32. จากข้อ 31 Topology นี้มีข้อดีทางด้านใด
ก. เป็น Topology ที่ง่ายต่อการติดตั้งสามารถเชื่อต่อเข้ากับสายแกนหลักได้ทันที
ข. หากสายสัญญาณหลุดหรือเสียหายก็ไม่มีผลกระทบต่อระบบ
ค. ใช้สายส่งข้อมูลน้อย ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย
ง. ถูกทั้งข้อ ก และ ข

คำตอบต่อไปนี้ใช้ตอบคำถามข้อ 33 ? 38
ก. BUS
ข. STAR
ค. RING
ง. Ethernet
33. การเชื่อต่อเครือข่ายแบบใดที่มีการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ Loop
34. การเชื่อมต่อเครือข่ายรูปแบบใดที่เปรียบเหมือนถนนข้อมูล Highway
35. การเชื่อมต่อเครือข่ายรูปแบบใดที่ต้องมีอุปกรณ์จุดศูนย์กลางที่เรียกว่า HUB เป็นตัวช่วย
36. ?ต้องใช้สายจำนวนมากเมื่อเปรียบเทียบกับการเชื่อมต่อชนิดอื่น? คำกล่าวนี้เป็นข้อจำกัดของการเชื่อมต่อรูปแบบใด
37. ?หากมีเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดไปหรือเสียจะทำให้ระบบนี้หยุดการทำงานทันที? เป็นข้อเสียของการเชื่อมต่อรูปแบบใด
38. รูปแบบการเชื่อมต่อแบบใดหากมีจุดผิดพลาดหรือทำงานขัดข้องจะหาง่ายและไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานทั้งระบบ

39.Repeater รีพีเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ไว้ทำอะไร
ก. ช่วยให้ระบบต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้
ข. ช่วยให้ระบบที่มีโปรโตคอลต่างกัน สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกัน
ค. ช่วยให้ระบบสามารถช่วยยืดระยะทางไปได้ไกลกว่าเดิม
ง. เป็นอุปกรณ์ที่ดักสัญญาณรบกวนภายในเครือข่าย

40. ข้อใดให้ความหมายของโปรแกรมไดร์เวอร์ได้ดีที่สุด
ก. คือชุดโปรแกรมที่ผู้ชื้อต้องเขียนขึ้นมาเพื่อจัดการกับอุปกรณ์
ข. คือชุดโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิต ๆ ขึ้นมา ซึ่งผู้ชื้อจะได้มาพร้อมกับการซื้ออุปกรณ์นั้น และนำอุปกรณ์นั้นติดตั้งลงในคอมพิวเตอร์ พร้อมกับชุดโปรแกรมที่แนบมา เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์นั้นได้
ค. คือชุดโปรแกรมที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานเฉพาะอุปกรณ์ด้านเครือข่าย เพื่อให้การทำงานบนเครือข่ายมีประสิทธิภาพสูงสุด
ง. คือฮาร์ดแวร์หรืออุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่เป็นลักษณะ Plug & Play สามารถเสียบแล้วใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องทำการติดตั้งโปรแกรมชุดใด ๆ

สัปดาห์นี้เรียน

วิธีการเข้าสายLAN
วิธีการเข้าสายLAN

วิธีการเข้าสาย UTP กับขั้วต่อ RJ45
1. นำสาย UTP มาปอกฉนวนหุ้มที่ปลายสายทั้งสองด้านยาวประมาณ 3 ซ.ม. เมื่อปอกแล้วจะพบเห็นสายอยู่ 4 คู่ บิดเป็นเกลี่ยวแยกสีไว้ชีดเจน


2. คลายเกลียวที่สายออก แล้วแรียงสายตามสีที่กำหนด แบ่งการเชื่อมต่อสายสัญญาณได้ 2 วิธี
2.1 สายสัญญาณชนิดที่เชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์เข้า Hub หรือ Switch การเชื่อมต่อแบบนี้จะมีการเรียงสีเพื่อเข้าขั้ว RJ45 เหมือนกันทั้งสองด้าน
รูปแสดง การเรียงสีของสาย UTP
ชนิดที่เชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์เข้า Hub หรือ Switch ความเร็ว 100 Mbps
หัวสายด้านที่ 1 ลำดับสายที่ หัวสายด้านที่ 2
ขาว ส้ม 1 ขาว ส้ม
ส้ม 2 ส้ม
ขาว เขียว 3 ขาว เขียว
ฟ้า 4 ฟ้า
ขาว ฟ้า 5 ขาว ฟ้า
เขียว 6 เขียว
ขาว น้ำตาล 7 ขาว น้ำตาล
น้ำตาล 8 น้ำตาล

2.2 สายสัญญาณชนิดไขว้สาย เรียกว่า สายคอสโอเวอร์ ( Crossover ) ในกรณีนี้ใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สองตัวเข้าด้วยกัน

รูปแสดง การไขว้สาย UTP ชนิดที่เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอรสองตัว
หัวสายด้านที่ 1 ลำดับสายที่ หัวสายด้านที่ 2
ขาว ส้ม 1 ขาว เขียว
ส้ม 2 เขียว
ขาว เขียว 3 ขาว ส้ม
ฟ้า 4 ฟ้า
ขาว ฟ้า 5 ขาว ฟ้า
เขียว 6 ส้ม
ขาว น้ำตาล 7 ขาว น้ำตาล
น้ำตาล 8 น้ำตาล


3. เมื่อเรี่ยงสายตามสีในขั้นตอนที่ 2 แล้วตัดสายให้เหลือประมาณ 1.5 ซ.ม.
4. เสียบสาย UTP ที่ตัดและเรียงสีไว้แล้ว เข้าไปในขั้วต่อ RJ45 โดยให้หมายเลขสายที่เรากำหนดไว้ตามขั้นตอนที่ 2 ตรงกับหมายเลขขั้ว RJ45

5. เสียบขั้ว RJ45 เข้าไปในร่องคีม ดันสาย UTP ให้สนิทอีกครั้ง แล้วใช้มือบีบด้ามคีมให้แน่น โลหะทองเหลืองของขั้ว RJ45 จะเข้าไปสัมผัสกับสายทองแดง ข้อควรระวัง การดึงหัว RJ45 ออกจากคีมให้ใช้มือบีบหางพลาสติกสำหรับล็อกก่อน




วิธีเข้าหัวแลน หรือ หัวRJ-45 ตัวผู้กับสาย UTP-CAT5E


ตารางที่ 1 แบบ T568B Crossover

RJ-45
CABLE (CAT 5)

Pin
Symbol
Color

1
TD+ ขาวส้ม
2 TD- ส้ม
3 RX+ ขาวเขียว
4 Not Assigned น้ำเงิน
5 Not Assigned ขาวน้ำเงิน
6 RX- เขียว
7 Not Assigned ขาวน้ำตาล
8 Not Assigned น้ำตาล




--------------------------------------------------------------------------------

ตารางที่ 2 แบบ T568A (Cross)

RJ-45
CABLE (CAT 5)

Pin
Symbol
Color

1
TD+ ขาวเขียว
2 TD- เขียว
3 RX+ ขาวส้ม
4 Not Assigned น้ำเงิน
5 Not Assigned ขาวน้ำเงิน
6 RX- ส้ม
7 Not Assigned ขาวน้ำตาล
8 Not Assigned น้ำตาล

วิธีการเข้าหัวทั้ง 2 แบบ
- การเข้าแบบธรรมดา เป็นการเชื่อมต่อแบบต่างอุปกรณ์ เช่น การใช้สายต่อกันระหว่าง คอมพิวเตอร์ กับ Switch หรือ HUB

Crossover Cable
RJ-45 PIN RJ-45 PIN
1 Rx+ 1 Rc+
2 Rc- 2 Rc-
3 Tx+ 3 Tx+
6 Tx- 6 Tx-

Straight Through Cable
RJ-45 PIN RJ-45 PIN
1 Tx+ 1 Rc+
2 Tx- 2 Rc-
3 Rc+ 3 Tx+
6 Rc- 6 Tx-



- การเข้าแบบไขว้ หรือ Cross เป็นการเข้าสายแบบ เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ชนิดเดียวกัน เช่น HUB to HUB ,Switch To Swich หรือ คอมพิวเตอร์อ กับ คอมพิวเตอร์ เราสามารถที่จะใช้ระหว่าง คอมพิวเตอร์ กับ NoteBook

Crossover Cable
RJ-45 PIN RJ-45 PIN
1 Rx+ 3 Tx+
2 Rc- 6 Tx-
3 Tx+ 1 Rc+
6 Tx- 2 Rc-

Straight Through Cable
RJ-45 PIN RJ-45 PIN
1 Tx+ 1 Rc+
2 Tx- 2 Rc-
3 Rc+ 3 Tx+
6 Rc- 6 Tx-
หรือดูได้จาก

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ข้อสอบทำที่บ้านส่งวันอาทิตย์ 12.00นเท่านั้น




ให้นักเรียนโหลดไปทำแล้วส่งพร้อมกันที่เฟสบุ๊ค ตอนเที่ยงของวันอาทิตย์ ที่3 กรกฏาคมนี้
โดยทำแล้วโพสลงใน Blogger เสร็จทั้ง 40 ข้อ แล้ว นำURL ของหน้าBloggerที่ทำข้อสอบ มาส่งใน FACE BOOK อ.ศรัณย์ ส่งตอนเทียงหรือไม่เกินเที่ยเท่านั้น (พิมพ์โจทย์ แล้วตอบเลย)
http://www.tempf.com/getfile.php?id=977265&key=4e0be21178ff4

QR

ส่งานในเฟส

งานบูรณาการ

ให้นักเรียน พยายามทำงานให้เป็นปัจจุบันเพื่อความสะดวกในการส่งงาน
แผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ
ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2554
ระดับชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 (ปวช. 1)
------------------------------------------------------------------------------------------
บูรณาการรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
1. ภาษาไทยเพื่ออาชีพ 1 อ.ธวัชชัย
2. ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร1 อ.อัญญารัตน์
3. วิถีธรรมวิถีไทย อ.อนุสรณ์
4. ธุรกิจทั่วไป อ.ชาญชัย
5. พลศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ อ.คมสรรค์
6. บัญชีเบื้องต้น1 อ.ราชันย์
7. การขาย1 อ.ศรีสุดา
8. พิมพ์ดีดไทย 1 อ.อผทม
9. คอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการเบื้องต้น อ.ศรัณย์
10. พัฒนาบุคลิกภาพ อ.ธวัชชัย
หัวข้อเรื่อง : บริษัท ไอคอมพ์ ซับพลาย จำกัด
หัวข้อหรือรายการสอน
ลำดับที่ รายการสอน คาบเรียน(ชม.)
ทฤษฎี ปฏิบัติ
1 การใช้ภาษาไทย การเขียนภาษาไทยที่ถูกต้อง 1 1
2 รายละเอียดสินค้าเป็นภาษาอังกฤษพร้อมความหมาย 1 1
3 การส่งสริมสุขภาพ และบุคลิกภาพของนักคอมพิวเตอร์ 1 1
4 การเลือกทำเล เพื่อตั้งสถานประกอบการ 1 0
5 การส่งสริมสุขภาพ และบุคลิกภาพของนักคอมพิวเตอร์ 1 2
6 การใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ 1 2
7 กลยุทธ์การสร้างแบรน์ทางการตลาด 2 2
8 การจัดรูปแบบการพิมพ์คำนำ สารบัญ ตรวจทักษะการพิมพ์ 1 2
9 การสร้างคู่มือการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 1
10 บุคลิกภาพและการสังเกตของช่างคอม 1 3




สาระสำคัญ
ธุรกิจร้านซ่อมแซมเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง มีผลตอบแทนในอัตราที่น่าพอใจ แต่ผู้ประกอบการก็ต้องมีการปรับปรุงการดำเนินงานอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดเทคโนโลยี ธุรกิจนี้นอกจากการให้บริการทางด้านเทคโนโลยีแล้ว ผู้ประกอบการยังสามารถให้บริการทางด้านวิชาการโดยให้บริการสอนการใช้งาน software ที่เกี่ยวกับวิชาการได้อีกด้วย ซึ่งวัตถุดิบเหล่านี้สามารถจัดหามาบริการได้ไม่ยากนัก
จุดประสงค์การเรียนรู้
เพื่อให้นักเรียนได้บูรณาการความรู้และทักษะทางด้านวิชาชีพ และวิชาชีพเฉพาะในการประยุกต์ใช้ความรู้ในด้านต่างๆอย่างเหมาะสม
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
ความรู้
1. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาไทยเพื่ออาชีพ 1
2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 1
3. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีธรรมวิถีไทย
4. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจทั่วไป
5. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพลศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ
6. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ
7. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลยุทธ์การสร้างแบรน์ทางการตลาด
8. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิมพ์ดีดไทย 1
9. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการเบื้องต้น
10. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาบุคลิกภาพ
ทักษะ
1. สามารถใช้วิชาภาษาไทยในการสร้างเอกสารการจัดตั้งบริษัท
2. สามารถใช้วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารใช้ในการเรียกชื่อสินค้าภาษาอังกฤษ
3. สามารถใช้วิชาวิถีธรรมวิถีไทยเพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพของช่างคอมพิวเตอร์ที่ดี
4. สามารถใช้วิชาธุรกิจทั่วไปสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดให้กับบริษท
5. สามารถใช้วิชาศึกษาเพื่อพลศึกษาพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพของช่างคอมพิวเตอร์ที่ดี
6. สามารถใช้วิชาบัญชีเบื้องต้นจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย รายละเอียดของของบริษท
7. สามารถใช้วิชาการขาย1 เพื่อส่งเสริมทักษะและการพัฒนาการขาย
8. สามารถใช้วิชาพิมพ์ดีดเพื่อสร้างความละเอียดรอบคอบการจัดพิมพ์เอกสาร
9. สามารถใช้วิชาคอมและระบบปฏิบัติการเบื้องต้นในการสร้าองค์ความรู้การซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์
10 . สามารถใช้วิชาพัฒนาบุคลิกภาพในการสร้องเสริมศักยภาพของนักเรียนในการเป็นผู้นำที่ดี
จิตพิสัย
1. มีกริยามารยาทและบุคลิกภาพที่ดีพร้อมในการดำเนินงาน
กิจกรรมครู
1. ครูจัดเตรียมเอกสาร สื่อ ใบมอบที่หมายงาน
2. คณะครูร่วมกันชี้แจงถึงความสำคัญเรื่องแผนการจัดการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเชิง บูรณาการ ในรายวิชาให้ผู้เรียนรับทราบ เกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ หลักการ แนวคิด การทำบูรณาการ เวลาในการสอน ระยะเวลาในการดำเนินการ การรายงานการก้าวหน้าของงาน การประเมินผล การสรุปและการจัดทำเป็น ไฟล์และรูปเล่ม
3. แบ่งกลุ่มผู้เรียนจัดทำงานบูรณาการกลุ่มละ 3 คน
4. ครูมอบหมายใบงาน ให้แก่หัวหน้ากลุ่ม แนะนำให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้า โดยเริ่มจากการหาข้อมูลวิธีการดำเนินธุรกิจร้านคอมพิวเตอร์

ขั้นดำเนินกิจกรรม
ครูมอบหมายใบงาน ให้กับหัวหน้ากลุ่ม (อาจารย์ผู้สอนจะแจกใบงานให้เองในชั่วโมงเรียน)
คำชี้แจง 1. ครูให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต หนังสือ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจร้านคอมพิวเตอร์
2. ครูให้ผู้เรียนจัดทำ ไฟล์และเอกสาร ตามข้อมูลที่หาได้
กิจกรรมนักเรียน
1. นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ 3 คน สืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต หนังสือ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการ
ดำเนินธุรกิจร้านคอมพิวเตอร์
2. นักเรียนศึกษาใบงานที่ครูผู้สอนแต่ละวิชาแจกให้ แล้วดำเนินการตามขั้นตอนตามอาจารย์ผู้สอน
3. นักเรียนศึกษานำข้อมูลจากที่ได้ศึกษาค้นคว้า มาจัด สร้างไฟล์และเอกสาร
สื่อการเรียน
1. ตำราวิชาแต่ละรายวิชา เอกสารที่เกี่ยวข้อง.
2. ชุดการสอนแต่ละรายวิชา
3. LCD
4. แผ่นใส
5. ใบงาน



งานที่มอบหมาย/กิจกรรม
1. ศึกษาค้นคว้าเอกสาร ตำรา ชุดการสอน หรือการสืบค้นข้อมูลทาง Internet เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ
2. ปฏิบัติงานตามใบมอบหมายงาน (ของอาจารย์ผู้สอน)


ใบประเมินงานบูรณาการ ระดับชั้น ปวช.1 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554
ภาษาไทยเพื่ออาชีพ 1
(2000-1101) อ.ธวัชชัย ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร1
(2000-1201) อ.อัญญารัตน์
ความถูกต้องของการใช้ภาษาไทย 8 ตรงต่อเวลา
2 ความถูกต้องของศัพท์ที่ใช้ 8
ตรงต่อเวลา
2

รวม คะแนน รวม คะแนน
อาจารย์ ผู้ให้คะแนน อาจารย์ ผู้ให้คะแนน


วิถีธรรมวิถีไทย
(2000-1301) อ.อนุสรณ์ ธุกิจทั่วไป
(2200-1001) อ.ชาญชัย
ความถูกต้องส่งเสริมบุคลิกภาพ ตรงต่อเวลา การส่งเสริมการขาย 4 ตรงต่อเวลา
8 2 กลยุมธ์ 4 2

รวม คะแนน รวม คะแนน
อาจารย์ ผู้ให้คะแนน อาจารย์ ผู้ให้คะแนน


พลศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ
(2001-1601) อ.คมสรรค์ บัญชีเบื้องต้น 1
(2201-1002) อ.ราชัน
ภาพลักษณ์ ตรงต่อเวลา ความถูกต้องการบันทึกบัญชี ตรงต่อเวลา
8 2 8 2

รวม คะแนน รวม คะแนน
อาจารย์ ผู้ให้คะแนน อาจารย์ ผู้ให้คะแนน






พิมพ์ดีดไทย1
(2201-1005) อ.อผทม คอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการเบื้องต้น
(2201-2401) อ. ศรัณย์
ความถูกต้องการพิมพ์ 4 ตรงต่อเวลา เนื้อหาและความถูกต้อง 8 ตรงต่อเวลา
ความสะอาด สวยงาม 4 2 2

รวม คะแนน รวม คะแนน
อาจารย์ ผู้ให้คะแนน อาจารย์ ผู้ให้คะแนน

การขาย
(2201-1004) อ.ศรีสุดา พัฒนาบุคลิกภาพ
(2201-2316) อ.ธวัชชัย
ความถูกต้องการเลือกทำเล ตรงต่อเวลา บุคคลิกภาพ และภาพลักษณ์ ตรงต่อเวลา
สถานประกอบการ 8 2 และภาพลักษณ์ 8 2

รวม คะแนน รวม คะแนน
อาจารย์ ผู้ให้คะแนน อาจารย์ ผู้ให้คะแนน


ผู้จัดทำ 1.ชื่อ....................................................................................ชั้น..................เลขที่......................
2.ชื่อ....................................................................................ชั้น..................เลขที่......................
3.ชื่อ....................................................................................ชั้น..................เลขที่......................
4.ชื่อ....................................................................................ชั้น..................เลขที่......................










แผนปฏิบัติงานบูรณาการ

สัปดาห์ที่ ชื่อวิชา หน่วยที่ รายการสอน สัปดาห์ หมายเหตุ
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18
1 ภาษาไทยเพื่ออาชีพ 1
(2000-1101) อ.ธวัชชัย การใช้ภาษาไทย การเขียน
ภาษาไทยที่ถูกต้อง

2 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร1
(2000-1201) อ.อัญญารัตน์ รายละเอียดสินค้าเป็นภาษาอังกฤษพร้อมความหมาย

3 วิถีธรรมวิถีไทย
(2000-1301) อ.อนุสรณ์ การเลือกทำเล เพื่อตั้งสถานประกอบการ

4 ธุกิจธั่วไป
(2200-1001) อ.ชาญชัย การทำเอกสารโฆษณาการ

5 พลศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ
(2001-1601) อ.คมสรรค์ บุคลิกภาพของนักคอมพิวเตอร์

6 บัญชีเบื้องต้น 1
(2201-1002) อ.ราชัน การบันทึกบัญชีในสมุดรายวัน

7 พิมพ์ดีดไทย1
(2201-1005) อ.อผทม จัดรูปแบบการพิมพ์

8 คอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการเบื้องต้น
(2201-2401) อ. ศรัณย์ อุปกร์สินค้า และการบริการทางคอมพิวเตอร์

9 การขาย
(2201-1004) อ.ศรีสุดา การเลือกทำเล เพื่อตั้งสถานประกอบการ

10 พัฒนาบุคลิกภาพ
(2201-2316) อ.ธวัชชัย บุคลิกภาพของนักคอมพิวเตอร์

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

[flash]http://www.youtube.com/v/angXszjNg4s[/flash]
http://www.youtube.com/v/angXszjNg4s

วิจัย

โครงงานวิจัยในชั้นเรียน
เรื่อง การใช้ ชุด กฎ กติกา เงื่อนไขในการการเช็คเวลาเรียนเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการเข้าเรียน
ของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชชาชีพ ปีที่3/5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553

ชื่อผู้วิจัย นายศรัณย์ จิตโสภา
โรงเรียนพงษ์สวัสดิพณิชยการ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 1

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในการเข้าเรียนของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพในรอบปีที่ผ่านมามีนักเรียนเข้าเรียนไม่ตรงเวลาและนักเรียนบางคนไม่เข้าเรียน ส่งผลให้นักเรียนที่เข้าเรียนไม่ทัน และหนีเรียนไม่เข้าใจในเนื้อหา ความรู้ในบทเรียน ไม่ครบถ้วนตามกระบวนการ ทำให้เวลาทำการเรียนการสอนนักเรียนเกิดความไม่เข้าใจในเนื้อหาแบบเรียน ตอบคำถามไม่ได้ในเรื่องที่ทำการเรียนการสอน เมื่อมอบหมายงานให้ทำและทำการทดสอบมีผลการทดสอบไม่เป็นที่น่าพอใจ อีกทั้งนักเรียนที่เข้าช้ามักชักชวนเพื่อนคนอื่น ๆ ให้เข้าช้าหรือหนีเรียนอีกด้วย และเวลาที่เข้าเรียนช้าก็จะทำการพูดคุยกับเพื่อนทำให้รบกวนการเรียนของเพื่อนในห้องเรียนด้วย เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นจากการเข้าเรียนช้า จึงออกแบบ กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียนเพื่อแก้ไขปัญหา ปรับปรุง และพฤติกรรมอันไม่เหมาะสม ดังกล่าว

วัตถุประสงค์ในการจัดทำ
1. เพื่อแก้ไขปรับปรุงพฤติกรรมการเข้าเรียนช้าและหนีเรียนของนักเรียน รายวิชาฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้น
2. เพื่อพัฒนาความเข้าใจในการเรียนและผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักเรียน รายวิชาฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้น

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลาและไม่หนีเรียน
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
3. ลดพฤติกรรมอันเกิดจากการหนีเรียนของนักเรียน เช่น การลักขโมย การหนีไปสูบบุหรี่ หรือสารเสพติดต่าง ๆ
4. ทำเกิดความมีระเบียบวินัยในการเข้าเรียนและความเป็นระเบียบของสถานศึกษา

การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
กระบวนการเรียนการสอน สื่อจัดว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้กระบวนการเรียนการสอนครบบริบูรณ์และยังอาจกล่าวได้ว่าเป็นตัวชี้ถึงประสิทธิภาพของการเรียนการสอนในครั้งนั้น ๆ อีกด้วย เพราะตัวสื่อจะเป็นตัวการสำคัญที่นำเอาความรู้และประสบการณ์เข้าไปสู่การรับรู้ของผู้เรียน ซึ่งการรับรู้นี้เองที่ครูผู้สอนจะเลือกช่องทางให้ถูกต้อง มิฉะนั้นแล้วความรู้และประสบการณ์ทั้งหมดจะไม่สามารถเกิดขึ้นแก่ผู้เรียนได้ตามประสงค์ของครูผู้สอน ประสาทสัมผัสที่รับรู้ได้แม้มีเพียง 5 ประการ ได้แก่ การรับรู้ทางตา การรับรู้ทางเสียง การรับรู้ทางสัมผัส การรับรู้ทางรส และการรับรู้ทางกลิ่น แต่ในทางปฏิบัติแล้ว จะพบว่ามีการเลือกใช้การรับรู้ไม่เหมาะสมกันมากอันเนื่องมาจากยึดเอาความสะดวกคุ้นเคยของผู้สอน เช่น การใช้การบรรยายในการสอนเพื่ออธิบายรูปทรงของเคส เพื่อเปรียบเทียบลักษณะของลักษณะการใช้งาน ราคา เคสแต่ละรุ่น เป็นต้น ซึ่งคงจะเห็นได้ว่าผู้เรียนจะรับรู้และเกิดผลของการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างแน่นอน เพราะภาพนึกจากการฟังจะถูกแปลความหมายไปตามประสบการณ์เดิมของผู้เรียนซึ่งก็ย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรจะต้องนำภาพมาใช้ประกอบการบรรยายดังกล่าวด้วย จึงจะสามารถชี้ให้เห็นความเหมือนหรือความแตกต่างของสถาปัตยกรรมได้อย่างชัดเจน ประเด็นนี้คงจะสรุปได้ว่าความสมบูรณ์ของกระบวนการเรียนการสอนจำเป็นต้องให้ความสำคัญในองค์ประกอบของแต่ละส่วน โดยเฉพาะในส่วนของสื่อการสอนนั้น ในแนวคิดด้านเทคโนโลยีการศึกษาจะถือว่าสื่อการสอน คือ การทำให้ความเป็นนามธรรมไปสู่ความเป็นรูปธรรม
วิธีการ ได้แก่ สิ่งที่ใช้เทคนิคเป็นพิเศษเฉพาะ เช่น การจัดกิจกรรมต่าง ๆ เกมการศึกษา ศูนย์การเรียน การทดลอง ทัศนศึกษา สถานการณ์จำลอง แหล่งความรู้ชุมชน เป็นต้น การจัดประเภทของสื่อการสอนอีกลักษณะหนึ่งเน้นพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยถือว่าสิ่งใดๆ ก็ตามที่สามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นโดยทางตรง หรือทางอ้อมก็ตาม ถือได้ว่าสื่อเป็นแหล่งรวมของความรู้ แหล่งความรู้ มี 4 ลักษณะ ได้แก่
1. แหล่งความรู้ที่เกิดจากครูผู้สอน โดยยึดเอาครูผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้โดยตรง ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งจะโดยวิธีการใดก็ตาม การยึดเอาผู้สอนเป็นศูนย์กลางว่าเป็นสื่อ เช่นนี้ เพราะมีความเชื่อว่าคนก็เป็นสื่อประเภทหนึ่งที่สามารถแพร่ความรู้ไปสู่ผู้รับสาร สื่อบุคคลจะเป็นสื่อที่มีคุณค่ามากที่สุด เพราะเป็นแหล่งความรู้ที่กว้างขวาง สามารถมีปฏิสัมพันธ์ขณะถ่ายทอดประสบการณ์ และปรับสภาพให้เหมาะสมได้กับทุกสถานการณ์และจัดกิจกรรมการเรียนได้ทุกรูปแบบ และทุก พฤติกรรมอันได้แก่ พุทธพิสัย เจตพิสัย และทักษะพิสัย และที่สำคัญครูเป็นสภาพของมนุษย์มีความรู้สึก มีชีวิตจิตใจ คุณธรรม ซึ่งหาจากสื่ออื่น ๆ ไม่ได้
2. แหล่งความรู้ที่เกิดจากผู้เรียน โดยกำหนดให้ผู้เรียนเป็นแหล่งความรู้ ด้วยความเชื่อที่ว่า “ทุกคนมีความรู้และประสบการณ์” และความรู้ในประสบการณ์ระหว่างผู้เรียนเอง เป็นความรู้ที่มีความเรียบง่าย เข้าใจง่าย และเป็นช่วงของวัยวุฒิที่เหมาะสมตรงตามสภาพที่เป็นจริง และวิธีการหาความรู้เป็นประสบการณ์ตรงของผู้เรียนเอง ซึ่งจะทำให้องค์ประกอบของการเรียนรู้ เช่น ระดับความรู้ ภาษาการสื่อสาร บรรยากาศเป็นไปตามธรรมชาติของการเรียนรู้จริง ซึ่งโดยหลักของการเรียนรู้แล้วถือได้ว่าเป็นการเรียนรู้ที่ได้จรากการกระทำด้วยตนเอง อันจะเป็นผลถึงความเข้าใจ ความคล่องแคล่ว และความรู้สึกที่เป็นพฤติกรรมที่ถาวร และเป็นการปลูกฝังให้สามารถหาความรู้ได้ด้วยตนเองตลอดเวลา
3. แหล่งความรู้ที่เกิดจากสื่อเป็นศูนย์กลาง ได้แก่ การใช้สื่อการสอน เป็นตัวกลางการถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้เรียน โดยทั่วไปจะเป็นสื่อสำเร็จทั้งที่เป็นสื่อระบบและสื่อไม่เป็นระบบ การใช้สื่อเป็นศูนย์กลางเช่นนี้จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนรู้ได้ตลอดเวลา โดยมีการจัดระบบของการเรียนรู้ไว้ให้ เช่น การอ่านจากตำรา การใช้ห้องสมุด การเรียนด้วยบทเรียนโปรแกรม สไลด์ วีดิทัศน์ ซีดี-รอม ความรู้จากสื่อประเภทนี้ แม้จะเป็นแบบเนื้อหาตายตัว แต่ก็สามารถใช้เรียนรู้และทบทวนได้ตามความต้องการ และการใช้สื่อเป็นศูนย์กลางนี้หากได้มีการออกแบบให้เป็นสื่อประสม(Multi Media) ก็จะส่งเสริมให้ได้ใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ได้หลายอย่างอีกด้วย อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะยอมรับในความสำคัญของแหล่งความรู้ที่เกิดจากสื่อเป็นศูนย์กลางได้ก็จริง แต่ก็มีผู้ให้ข้อสังเกตว่า “สื่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่อาจพัฒนาขึ้นสอนแทนคนได้ แต่ต้องให้มีการสอนกันอย่างมีชีวิตชีวา” (ฟิลลิป แจกสัน, 1968)
4. แหล่งความรู้ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การนำเอาสภาพแวดล้อมมาเป็นแหล่งความรู้ อันได้แก่ อาคารสถานที่ สวนป่า สวนสาธารณะ ชุมชน องค์ประกอบชุมชน การนำสิ่งแวดล้อมมาเป็นสื่อการสอนประเภทหนึ่งโดยยึดหลักการที่ว่า “ความรู้มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง” ถ้าได้มีการพิจารณากันอย่างถ่องแท้ก็จะเข้าใจว่า ธรรมชาติเป็นแหล่งความรู้ที่แท้จริง มีความเป็นจริงในเชิงธรรมะที่เป็นธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ ต้นไม้ให้ความรู้ โครงสร้างของต้นไม้ กิ่ง ใบ ดอก ลำต้น การเจริญเติบโตและแผ่กิ่งก้านสาขาปกคลุมพื้นดินให้ชุ่มชื่นสร้างความร่มรื่นแก่บริเวณใกล้เคียง ข้อความที่ขีดเส้นต้นเมื่อขยายความคิดต่อไปอีกก็คือ ความร่มรื่นนั้นลดอุณหภูมิ อันจะเป็นผลต่อไปถึงการลดใช้พลังงานไฟฟ้าที่จะต้องนำไปใช้กับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น พัดลมและเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น บ้านเรือน ชุมชน ที่สาธารณะใช้พลังงานกันทั้งสิ้น ฉะนั้นถ้าจะต้องศึกษาในเรื่องของพลังงานสามารถออกไปศึกษาสำรวจเก็บข้อมูลต่างๆ ได้หลากหลาย และเป็นข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Source) และเป็นสื่อที่ครู นักเรียน ไม่ต้องไปผลิตขึ้นมาเพียงแต่ต้องวางแผนจัดกิจกรรม ทัศนศึกษาดูงาน อันเป็นกลุ่มวิธีการของสื่อการสอนอย่างหนึ่งก็สามารถก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สื่อประเภทต่างๆ ที่ยกมากล่าวเป็นตัวอย่างข้างต้นนี้ หากจะได้ทำความเข้าใจอย่างชัดเจนแล้วเชื่อได้ว่าในการเรียนการสอนจริงสามารถนำไปใช้เป็นสื่อการสอนในเชิงเทคโนโลยีการศึกษาได้และเมื่อถึงวันนั้นเราคงไม่ขาดแคลนสื่อการสอนอย่างแน่นอน
สมมุติฐานสำหรับการวิจัย
เมื่อใช้ ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3/5 จะทำให้นักเรียนเข้าเรียนตรงเวลาและไม่หนีเรียน พัฒนาการเรียนของนักเรียนและลดพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมที่เกิดจากการหนีเรียน
ขอบเขตของการวิจัย
1. การวิจัยพัฒนาครั้งนี้เป็นการสร้างชุด กฎ กติกาและเงื่อนไขในการเช็คเวลาเข้าเรียนของ นักเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553
2. ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3/5 ที่เรียนในรายวิชา ฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้ โรงเรียนพงษ์สวัสดิ์พณิชยการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553

นิยามศัพท์ในการวิจัย
1. ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน หมายถึง แบบเช็คเวลาที่ จัดทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการเข้าเรียนช้าของนักเรียน ประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3/5
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่นักเรียนได้รับจากการทดสอบแบบทดสอบ ที่ครูสร้างขึ้น

วิธีดำเนินการวิจัย
1. วางแผนการจัดทำชุด ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
2. ศึกษาองค์ประกอบที่มีผลต่อการแก้ไขพฤติกรรมการเข้าเรียนช้าหรือหนีเรียนของนักเรียน
3. รวบรวมข้อมูลการจัดทำชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
4. วางแบบขั้นตอนการใช้งานชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
5. จัดทำชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
6. ใช้ ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
7. ประเมินผลโดยแบบทดสอบ แบบสังเกตพฤติกรรมและแบบสำรวจการเข้าเรียน
8. สรุปผลการใช้ ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
9. ปรับปรุงและพัฒนาชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป

กลุ่มตัวอย่าง
3. กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3/5 ที่เรียนในรายวิชา ฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้ โรงเรียนพงษ์สวัสดิ์พณิชยการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553








การวิเคราะห์และประเมินผลการเรียนรู้
1. การสังเกต
2. แบบสำรวจการเข้าเรียน
3. การประเมินผลสภาพจริง
พฤติกรรมการเรียนรู้ การตอบคำถาม การทำแบบฝึกหัด
ปฏิทินการวิจัย
1. ขั้นการวิจัย (ภาคเรียนที่ 2 พฤศจิกายน – มกราคม 2553 )
1. วางแผนการจัดทำชุด ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียน
2. ศึกษาองค์ประกอบที่มีผลต่อการแก้ไขพฤติกรรมการเข้าเรียนช้าหรือหนีเรียน
3. รวบรวมข้อมูลการจัดทำชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียน
4. วางแบบขั้นตอนการใช้งานชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียน
5. จัดทำชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
2. ใช้ ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
3. ขั้นประเมินผลโดยแบบทดสอบ แบบสังเกตพฤติกรรมและแบบสำรวจการเข้าเรียน
( พฤศจิกายน – มกราคม 2553 )
4. สรุปผลการใช้ ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
ปรับปรุงและพัฒนาชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป

เอกสารอ้างอิง
ธีระพัฒน์ ฤทธิ์ทอง . วิจัยอย่างง่ายของครู , 2542 . เอกสารอัดสำเนา
นภดล เจนอักษร, ACTION RESEARCH : การวิจัยของครู . เอกสารอัดสำเนา. 2542 .
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ” หลักการเขียนรายงานทางวิชาการ” การวิจัย การวัดและ
ประเมินผล กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยมหิดล ,2533.
วิชาการ กรม กระทรวงศึกษาธิการ. การวิจัยเชิงพัฒนา ระดับโรงเรียน ,กรุงเทพมหานคร
โรงพิมพ์คุรุสภา , 2536.

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

'ko

ระบบการทํางานของคอมพิวเตอร์

การทํางานของคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้

1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
ทําหน้าที่ในการรับข้อมูลหรือคําสั่งจากภายนอกเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจํา เพื่อเตรียมประมวลผล
ข้อมูลที่ต้องการ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการนําข้อมูลที่ใช้กันอยู่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น มีอยู่หลายประเภทด้วย
กันสําหรับอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี ดังต่อไปนี้
- Keyboard
- Mouse
- Disk Drive
- Hard Drive
- CD-Rom
- Magnetic Tape
- Card Reader
- Scanner

2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
ทํ าหน้าที่ในการคํานวณและประมวลผล แบ่งออกเป็น 2 หน่วยย่อย คือ
- หน่วยควบคุม ทําหน้าที่ในการดูแล ควบคุมลําดับขั้นตอนของการประมวลผล และการทํางาน
ของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในหน่วยประมวลผลกลาง และช่วยประสานงานระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับ
อุปกรณ์นําเข้าข้อมูล อุปกรณ์ในการแสดงผล และหน่วยความจําสํารอง
- หน่วยคํานวณและตรรก ทําหน้าที่ในการคํานวณและเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆ ที่ส่งมาจาก
หน่วยควบคุม และหน่วยความจํา

3. หน่วยความจํ า (Memory)
ทําหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือคําสั่งต่างๆ ที่รับจากภายนอกเข้ามาเก็บไว้ เพื่อประมวลผลและยัง
เก็บผลที่ได้จากการประมวลผลไว้เพื่อแสดงผลอีกด้วย ซึ่งแบ่งออกเป็น
หน่วยความจํา เป็นหน่วยความจําที่มีอยู่ ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ในการเก็บคําสั่ง
หรือข้อมูล แบ่งออกเป็น
- ROM หน่วยความจําแบบถาวร
- RAM หน่วยความจําแบบชั่วคราว
- หน่วยความจําสํารอง เป็นหน่วยความจําที่อยู่นอกเครื่อง มีหน้าที่ช่วยให้หน่วยความจําหลัก
สามารถเก็บ ข้อมูลได้มากขึ้น

4. หน่วยแสดงผล (Output Unit)
ทําหน้าที่ในการแสดงผลลัทธ์ที่ได้หลังจากการคํานวณและประมวลผล สําหรับอุปกรณ์ที่ ทําหน้าที่
ในการแสดงผลข้อมูลที่ได้นั้นมีต่อไปนี้
- Monitor จอภาพ
- Printer เครื่องพิมพ.
- Plotter เครื่องพิมพ์ที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการลงกระดาษ

แหล่งที่มา: http://www.geocities.com/kunkroo_computer

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554