วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ข้อสอบทำที่บ้านส่งวันอาทิตย์ 12.00นเท่านั้น




ให้นักเรียนโหลดไปทำแล้วส่งพร้อมกันที่เฟสบุ๊ค ตอนเที่ยงของวันอาทิตย์ ที่3 กรกฏาคมนี้
โดยทำแล้วโพสลงใน Blogger เสร็จทั้ง 40 ข้อ แล้ว นำURL ของหน้าBloggerที่ทำข้อสอบ มาส่งใน FACE BOOK อ.ศรัณย์ ส่งตอนเทียงหรือไม่เกินเที่ยเท่านั้น (พิมพ์โจทย์ แล้วตอบเลย)
http://www.tempf.com/getfile.php?id=977265&key=4e0be21178ff4

QR

ส่งานในเฟส

งานบูรณาการ

ให้นักเรียน พยายามทำงานให้เป็นปัจจุบันเพื่อความสะดวกในการส่งงาน
แผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ
ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2554
ระดับชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 (ปวช. 1)
------------------------------------------------------------------------------------------
บูรณาการรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
1. ภาษาไทยเพื่ออาชีพ 1 อ.ธวัชชัย
2. ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร1 อ.อัญญารัตน์
3. วิถีธรรมวิถีไทย อ.อนุสรณ์
4. ธุรกิจทั่วไป อ.ชาญชัย
5. พลศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ อ.คมสรรค์
6. บัญชีเบื้องต้น1 อ.ราชันย์
7. การขาย1 อ.ศรีสุดา
8. พิมพ์ดีดไทย 1 อ.อผทม
9. คอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการเบื้องต้น อ.ศรัณย์
10. พัฒนาบุคลิกภาพ อ.ธวัชชัย
หัวข้อเรื่อง : บริษัท ไอคอมพ์ ซับพลาย จำกัด
หัวข้อหรือรายการสอน
ลำดับที่ รายการสอน คาบเรียน(ชม.)
ทฤษฎี ปฏิบัติ
1 การใช้ภาษาไทย การเขียนภาษาไทยที่ถูกต้อง 1 1
2 รายละเอียดสินค้าเป็นภาษาอังกฤษพร้อมความหมาย 1 1
3 การส่งสริมสุขภาพ และบุคลิกภาพของนักคอมพิวเตอร์ 1 1
4 การเลือกทำเล เพื่อตั้งสถานประกอบการ 1 0
5 การส่งสริมสุขภาพ และบุคลิกภาพของนักคอมพิวเตอร์ 1 2
6 การใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ 1 2
7 กลยุทธ์การสร้างแบรน์ทางการตลาด 2 2
8 การจัดรูปแบบการพิมพ์คำนำ สารบัญ ตรวจทักษะการพิมพ์ 1 2
9 การสร้างคู่มือการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 1
10 บุคลิกภาพและการสังเกตของช่างคอม 1 3




สาระสำคัญ
ธุรกิจร้านซ่อมแซมเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง มีผลตอบแทนในอัตราที่น่าพอใจ แต่ผู้ประกอบการก็ต้องมีการปรับปรุงการดำเนินงานอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดเทคโนโลยี ธุรกิจนี้นอกจากการให้บริการทางด้านเทคโนโลยีแล้ว ผู้ประกอบการยังสามารถให้บริการทางด้านวิชาการโดยให้บริการสอนการใช้งาน software ที่เกี่ยวกับวิชาการได้อีกด้วย ซึ่งวัตถุดิบเหล่านี้สามารถจัดหามาบริการได้ไม่ยากนัก
จุดประสงค์การเรียนรู้
เพื่อให้นักเรียนได้บูรณาการความรู้และทักษะทางด้านวิชาชีพ และวิชาชีพเฉพาะในการประยุกต์ใช้ความรู้ในด้านต่างๆอย่างเหมาะสม
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
ความรู้
1. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาไทยเพื่ออาชีพ 1
2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 1
3. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีธรรมวิถีไทย
4. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจทั่วไป
5. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพลศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ
6. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ
7. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลยุทธ์การสร้างแบรน์ทางการตลาด
8. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิมพ์ดีดไทย 1
9. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการเบื้องต้น
10. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาบุคลิกภาพ
ทักษะ
1. สามารถใช้วิชาภาษาไทยในการสร้างเอกสารการจัดตั้งบริษัท
2. สามารถใช้วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารใช้ในการเรียกชื่อสินค้าภาษาอังกฤษ
3. สามารถใช้วิชาวิถีธรรมวิถีไทยเพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพของช่างคอมพิวเตอร์ที่ดี
4. สามารถใช้วิชาธุรกิจทั่วไปสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดให้กับบริษท
5. สามารถใช้วิชาศึกษาเพื่อพลศึกษาพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพของช่างคอมพิวเตอร์ที่ดี
6. สามารถใช้วิชาบัญชีเบื้องต้นจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย รายละเอียดของของบริษท
7. สามารถใช้วิชาการขาย1 เพื่อส่งเสริมทักษะและการพัฒนาการขาย
8. สามารถใช้วิชาพิมพ์ดีดเพื่อสร้างความละเอียดรอบคอบการจัดพิมพ์เอกสาร
9. สามารถใช้วิชาคอมและระบบปฏิบัติการเบื้องต้นในการสร้าองค์ความรู้การซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์
10 . สามารถใช้วิชาพัฒนาบุคลิกภาพในการสร้องเสริมศักยภาพของนักเรียนในการเป็นผู้นำที่ดี
จิตพิสัย
1. มีกริยามารยาทและบุคลิกภาพที่ดีพร้อมในการดำเนินงาน
กิจกรรมครู
1. ครูจัดเตรียมเอกสาร สื่อ ใบมอบที่หมายงาน
2. คณะครูร่วมกันชี้แจงถึงความสำคัญเรื่องแผนการจัดการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเชิง บูรณาการ ในรายวิชาให้ผู้เรียนรับทราบ เกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ หลักการ แนวคิด การทำบูรณาการ เวลาในการสอน ระยะเวลาในการดำเนินการ การรายงานการก้าวหน้าของงาน การประเมินผล การสรุปและการจัดทำเป็น ไฟล์และรูปเล่ม
3. แบ่งกลุ่มผู้เรียนจัดทำงานบูรณาการกลุ่มละ 3 คน
4. ครูมอบหมายใบงาน ให้แก่หัวหน้ากลุ่ม แนะนำให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้า โดยเริ่มจากการหาข้อมูลวิธีการดำเนินธุรกิจร้านคอมพิวเตอร์

ขั้นดำเนินกิจกรรม
ครูมอบหมายใบงาน ให้กับหัวหน้ากลุ่ม (อาจารย์ผู้สอนจะแจกใบงานให้เองในชั่วโมงเรียน)
คำชี้แจง 1. ครูให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต หนังสือ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจร้านคอมพิวเตอร์
2. ครูให้ผู้เรียนจัดทำ ไฟล์และเอกสาร ตามข้อมูลที่หาได้
กิจกรรมนักเรียน
1. นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ 3 คน สืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต หนังสือ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการ
ดำเนินธุรกิจร้านคอมพิวเตอร์
2. นักเรียนศึกษาใบงานที่ครูผู้สอนแต่ละวิชาแจกให้ แล้วดำเนินการตามขั้นตอนตามอาจารย์ผู้สอน
3. นักเรียนศึกษานำข้อมูลจากที่ได้ศึกษาค้นคว้า มาจัด สร้างไฟล์และเอกสาร
สื่อการเรียน
1. ตำราวิชาแต่ละรายวิชา เอกสารที่เกี่ยวข้อง.
2. ชุดการสอนแต่ละรายวิชา
3. LCD
4. แผ่นใส
5. ใบงาน



งานที่มอบหมาย/กิจกรรม
1. ศึกษาค้นคว้าเอกสาร ตำรา ชุดการสอน หรือการสืบค้นข้อมูลทาง Internet เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ
2. ปฏิบัติงานตามใบมอบหมายงาน (ของอาจารย์ผู้สอน)


ใบประเมินงานบูรณาการ ระดับชั้น ปวช.1 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554
ภาษาไทยเพื่ออาชีพ 1
(2000-1101) อ.ธวัชชัย ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร1
(2000-1201) อ.อัญญารัตน์
ความถูกต้องของการใช้ภาษาไทย 8 ตรงต่อเวลา
2 ความถูกต้องของศัพท์ที่ใช้ 8
ตรงต่อเวลา
2

รวม คะแนน รวม คะแนน
อาจารย์ ผู้ให้คะแนน อาจารย์ ผู้ให้คะแนน


วิถีธรรมวิถีไทย
(2000-1301) อ.อนุสรณ์ ธุกิจทั่วไป
(2200-1001) อ.ชาญชัย
ความถูกต้องส่งเสริมบุคลิกภาพ ตรงต่อเวลา การส่งเสริมการขาย 4 ตรงต่อเวลา
8 2 กลยุมธ์ 4 2

รวม คะแนน รวม คะแนน
อาจารย์ ผู้ให้คะแนน อาจารย์ ผู้ให้คะแนน


พลศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ
(2001-1601) อ.คมสรรค์ บัญชีเบื้องต้น 1
(2201-1002) อ.ราชัน
ภาพลักษณ์ ตรงต่อเวลา ความถูกต้องการบันทึกบัญชี ตรงต่อเวลา
8 2 8 2

รวม คะแนน รวม คะแนน
อาจารย์ ผู้ให้คะแนน อาจารย์ ผู้ให้คะแนน






พิมพ์ดีดไทย1
(2201-1005) อ.อผทม คอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการเบื้องต้น
(2201-2401) อ. ศรัณย์
ความถูกต้องการพิมพ์ 4 ตรงต่อเวลา เนื้อหาและความถูกต้อง 8 ตรงต่อเวลา
ความสะอาด สวยงาม 4 2 2

รวม คะแนน รวม คะแนน
อาจารย์ ผู้ให้คะแนน อาจารย์ ผู้ให้คะแนน

การขาย
(2201-1004) อ.ศรีสุดา พัฒนาบุคลิกภาพ
(2201-2316) อ.ธวัชชัย
ความถูกต้องการเลือกทำเล ตรงต่อเวลา บุคคลิกภาพ และภาพลักษณ์ ตรงต่อเวลา
สถานประกอบการ 8 2 และภาพลักษณ์ 8 2

รวม คะแนน รวม คะแนน
อาจารย์ ผู้ให้คะแนน อาจารย์ ผู้ให้คะแนน


ผู้จัดทำ 1.ชื่อ....................................................................................ชั้น..................เลขที่......................
2.ชื่อ....................................................................................ชั้น..................เลขที่......................
3.ชื่อ....................................................................................ชั้น..................เลขที่......................
4.ชื่อ....................................................................................ชั้น..................เลขที่......................










แผนปฏิบัติงานบูรณาการ

สัปดาห์ที่ ชื่อวิชา หน่วยที่ รายการสอน สัปดาห์ หมายเหตุ
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18
1 ภาษาไทยเพื่ออาชีพ 1
(2000-1101) อ.ธวัชชัย การใช้ภาษาไทย การเขียน
ภาษาไทยที่ถูกต้อง

2 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร1
(2000-1201) อ.อัญญารัตน์ รายละเอียดสินค้าเป็นภาษาอังกฤษพร้อมความหมาย

3 วิถีธรรมวิถีไทย
(2000-1301) อ.อนุสรณ์ การเลือกทำเล เพื่อตั้งสถานประกอบการ

4 ธุกิจธั่วไป
(2200-1001) อ.ชาญชัย การทำเอกสารโฆษณาการ

5 พลศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ
(2001-1601) อ.คมสรรค์ บุคลิกภาพของนักคอมพิวเตอร์

6 บัญชีเบื้องต้น 1
(2201-1002) อ.ราชัน การบันทึกบัญชีในสมุดรายวัน

7 พิมพ์ดีดไทย1
(2201-1005) อ.อผทม จัดรูปแบบการพิมพ์

8 คอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการเบื้องต้น
(2201-2401) อ. ศรัณย์ อุปกร์สินค้า และการบริการทางคอมพิวเตอร์

9 การขาย
(2201-1004) อ.ศรีสุดา การเลือกทำเล เพื่อตั้งสถานประกอบการ

10 พัฒนาบุคลิกภาพ
(2201-2316) อ.ธวัชชัย บุคลิกภาพของนักคอมพิวเตอร์

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

[flash]http://www.youtube.com/v/angXszjNg4s[/flash]
http://www.youtube.com/v/angXszjNg4s

วิจัย

โครงงานวิจัยในชั้นเรียน
เรื่อง การใช้ ชุด กฎ กติกา เงื่อนไขในการการเช็คเวลาเรียนเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการเข้าเรียน
ของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชชาชีพ ปีที่3/5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553

ชื่อผู้วิจัย นายศรัณย์ จิตโสภา
โรงเรียนพงษ์สวัสดิพณิชยการ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 1

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในการเข้าเรียนของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพในรอบปีที่ผ่านมามีนักเรียนเข้าเรียนไม่ตรงเวลาและนักเรียนบางคนไม่เข้าเรียน ส่งผลให้นักเรียนที่เข้าเรียนไม่ทัน และหนีเรียนไม่เข้าใจในเนื้อหา ความรู้ในบทเรียน ไม่ครบถ้วนตามกระบวนการ ทำให้เวลาทำการเรียนการสอนนักเรียนเกิดความไม่เข้าใจในเนื้อหาแบบเรียน ตอบคำถามไม่ได้ในเรื่องที่ทำการเรียนการสอน เมื่อมอบหมายงานให้ทำและทำการทดสอบมีผลการทดสอบไม่เป็นที่น่าพอใจ อีกทั้งนักเรียนที่เข้าช้ามักชักชวนเพื่อนคนอื่น ๆ ให้เข้าช้าหรือหนีเรียนอีกด้วย และเวลาที่เข้าเรียนช้าก็จะทำการพูดคุยกับเพื่อนทำให้รบกวนการเรียนของเพื่อนในห้องเรียนด้วย เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นจากการเข้าเรียนช้า จึงออกแบบ กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียนเพื่อแก้ไขปัญหา ปรับปรุง และพฤติกรรมอันไม่เหมาะสม ดังกล่าว

วัตถุประสงค์ในการจัดทำ
1. เพื่อแก้ไขปรับปรุงพฤติกรรมการเข้าเรียนช้าและหนีเรียนของนักเรียน รายวิชาฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้น
2. เพื่อพัฒนาความเข้าใจในการเรียนและผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักเรียน รายวิชาฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้น

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลาและไม่หนีเรียน
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
3. ลดพฤติกรรมอันเกิดจากการหนีเรียนของนักเรียน เช่น การลักขโมย การหนีไปสูบบุหรี่ หรือสารเสพติดต่าง ๆ
4. ทำเกิดความมีระเบียบวินัยในการเข้าเรียนและความเป็นระเบียบของสถานศึกษา

การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
กระบวนการเรียนการสอน สื่อจัดว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้กระบวนการเรียนการสอนครบบริบูรณ์และยังอาจกล่าวได้ว่าเป็นตัวชี้ถึงประสิทธิภาพของการเรียนการสอนในครั้งนั้น ๆ อีกด้วย เพราะตัวสื่อจะเป็นตัวการสำคัญที่นำเอาความรู้และประสบการณ์เข้าไปสู่การรับรู้ของผู้เรียน ซึ่งการรับรู้นี้เองที่ครูผู้สอนจะเลือกช่องทางให้ถูกต้อง มิฉะนั้นแล้วความรู้และประสบการณ์ทั้งหมดจะไม่สามารถเกิดขึ้นแก่ผู้เรียนได้ตามประสงค์ของครูผู้สอน ประสาทสัมผัสที่รับรู้ได้แม้มีเพียง 5 ประการ ได้แก่ การรับรู้ทางตา การรับรู้ทางเสียง การรับรู้ทางสัมผัส การรับรู้ทางรส และการรับรู้ทางกลิ่น แต่ในทางปฏิบัติแล้ว จะพบว่ามีการเลือกใช้การรับรู้ไม่เหมาะสมกันมากอันเนื่องมาจากยึดเอาความสะดวกคุ้นเคยของผู้สอน เช่น การใช้การบรรยายในการสอนเพื่ออธิบายรูปทรงของเคส เพื่อเปรียบเทียบลักษณะของลักษณะการใช้งาน ราคา เคสแต่ละรุ่น เป็นต้น ซึ่งคงจะเห็นได้ว่าผู้เรียนจะรับรู้และเกิดผลของการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างแน่นอน เพราะภาพนึกจากการฟังจะถูกแปลความหมายไปตามประสบการณ์เดิมของผู้เรียนซึ่งก็ย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรจะต้องนำภาพมาใช้ประกอบการบรรยายดังกล่าวด้วย จึงจะสามารถชี้ให้เห็นความเหมือนหรือความแตกต่างของสถาปัตยกรรมได้อย่างชัดเจน ประเด็นนี้คงจะสรุปได้ว่าความสมบูรณ์ของกระบวนการเรียนการสอนจำเป็นต้องให้ความสำคัญในองค์ประกอบของแต่ละส่วน โดยเฉพาะในส่วนของสื่อการสอนนั้น ในแนวคิดด้านเทคโนโลยีการศึกษาจะถือว่าสื่อการสอน คือ การทำให้ความเป็นนามธรรมไปสู่ความเป็นรูปธรรม
วิธีการ ได้แก่ สิ่งที่ใช้เทคนิคเป็นพิเศษเฉพาะ เช่น การจัดกิจกรรมต่าง ๆ เกมการศึกษา ศูนย์การเรียน การทดลอง ทัศนศึกษา สถานการณ์จำลอง แหล่งความรู้ชุมชน เป็นต้น การจัดประเภทของสื่อการสอนอีกลักษณะหนึ่งเน้นพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยถือว่าสิ่งใดๆ ก็ตามที่สามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นโดยทางตรง หรือทางอ้อมก็ตาม ถือได้ว่าสื่อเป็นแหล่งรวมของความรู้ แหล่งความรู้ มี 4 ลักษณะ ได้แก่
1. แหล่งความรู้ที่เกิดจากครูผู้สอน โดยยึดเอาครูผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้โดยตรง ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งจะโดยวิธีการใดก็ตาม การยึดเอาผู้สอนเป็นศูนย์กลางว่าเป็นสื่อ เช่นนี้ เพราะมีความเชื่อว่าคนก็เป็นสื่อประเภทหนึ่งที่สามารถแพร่ความรู้ไปสู่ผู้รับสาร สื่อบุคคลจะเป็นสื่อที่มีคุณค่ามากที่สุด เพราะเป็นแหล่งความรู้ที่กว้างขวาง สามารถมีปฏิสัมพันธ์ขณะถ่ายทอดประสบการณ์ และปรับสภาพให้เหมาะสมได้กับทุกสถานการณ์และจัดกิจกรรมการเรียนได้ทุกรูปแบบ และทุก พฤติกรรมอันได้แก่ พุทธพิสัย เจตพิสัย และทักษะพิสัย และที่สำคัญครูเป็นสภาพของมนุษย์มีความรู้สึก มีชีวิตจิตใจ คุณธรรม ซึ่งหาจากสื่ออื่น ๆ ไม่ได้
2. แหล่งความรู้ที่เกิดจากผู้เรียน โดยกำหนดให้ผู้เรียนเป็นแหล่งความรู้ ด้วยความเชื่อที่ว่า “ทุกคนมีความรู้และประสบการณ์” และความรู้ในประสบการณ์ระหว่างผู้เรียนเอง เป็นความรู้ที่มีความเรียบง่าย เข้าใจง่าย และเป็นช่วงของวัยวุฒิที่เหมาะสมตรงตามสภาพที่เป็นจริง และวิธีการหาความรู้เป็นประสบการณ์ตรงของผู้เรียนเอง ซึ่งจะทำให้องค์ประกอบของการเรียนรู้ เช่น ระดับความรู้ ภาษาการสื่อสาร บรรยากาศเป็นไปตามธรรมชาติของการเรียนรู้จริง ซึ่งโดยหลักของการเรียนรู้แล้วถือได้ว่าเป็นการเรียนรู้ที่ได้จรากการกระทำด้วยตนเอง อันจะเป็นผลถึงความเข้าใจ ความคล่องแคล่ว และความรู้สึกที่เป็นพฤติกรรมที่ถาวร และเป็นการปลูกฝังให้สามารถหาความรู้ได้ด้วยตนเองตลอดเวลา
3. แหล่งความรู้ที่เกิดจากสื่อเป็นศูนย์กลาง ได้แก่ การใช้สื่อการสอน เป็นตัวกลางการถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้เรียน โดยทั่วไปจะเป็นสื่อสำเร็จทั้งที่เป็นสื่อระบบและสื่อไม่เป็นระบบ การใช้สื่อเป็นศูนย์กลางเช่นนี้จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนรู้ได้ตลอดเวลา โดยมีการจัดระบบของการเรียนรู้ไว้ให้ เช่น การอ่านจากตำรา การใช้ห้องสมุด การเรียนด้วยบทเรียนโปรแกรม สไลด์ วีดิทัศน์ ซีดี-รอม ความรู้จากสื่อประเภทนี้ แม้จะเป็นแบบเนื้อหาตายตัว แต่ก็สามารถใช้เรียนรู้และทบทวนได้ตามความต้องการ และการใช้สื่อเป็นศูนย์กลางนี้หากได้มีการออกแบบให้เป็นสื่อประสม(Multi Media) ก็จะส่งเสริมให้ได้ใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ได้หลายอย่างอีกด้วย อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะยอมรับในความสำคัญของแหล่งความรู้ที่เกิดจากสื่อเป็นศูนย์กลางได้ก็จริง แต่ก็มีผู้ให้ข้อสังเกตว่า “สื่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่อาจพัฒนาขึ้นสอนแทนคนได้ แต่ต้องให้มีการสอนกันอย่างมีชีวิตชีวา” (ฟิลลิป แจกสัน, 1968)
4. แหล่งความรู้ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การนำเอาสภาพแวดล้อมมาเป็นแหล่งความรู้ อันได้แก่ อาคารสถานที่ สวนป่า สวนสาธารณะ ชุมชน องค์ประกอบชุมชน การนำสิ่งแวดล้อมมาเป็นสื่อการสอนประเภทหนึ่งโดยยึดหลักการที่ว่า “ความรู้มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง” ถ้าได้มีการพิจารณากันอย่างถ่องแท้ก็จะเข้าใจว่า ธรรมชาติเป็นแหล่งความรู้ที่แท้จริง มีความเป็นจริงในเชิงธรรมะที่เป็นธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ ต้นไม้ให้ความรู้ โครงสร้างของต้นไม้ กิ่ง ใบ ดอก ลำต้น การเจริญเติบโตและแผ่กิ่งก้านสาขาปกคลุมพื้นดินให้ชุ่มชื่นสร้างความร่มรื่นแก่บริเวณใกล้เคียง ข้อความที่ขีดเส้นต้นเมื่อขยายความคิดต่อไปอีกก็คือ ความร่มรื่นนั้นลดอุณหภูมิ อันจะเป็นผลต่อไปถึงการลดใช้พลังงานไฟฟ้าที่จะต้องนำไปใช้กับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น พัดลมและเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น บ้านเรือน ชุมชน ที่สาธารณะใช้พลังงานกันทั้งสิ้น ฉะนั้นถ้าจะต้องศึกษาในเรื่องของพลังงานสามารถออกไปศึกษาสำรวจเก็บข้อมูลต่างๆ ได้หลากหลาย และเป็นข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Source) และเป็นสื่อที่ครู นักเรียน ไม่ต้องไปผลิตขึ้นมาเพียงแต่ต้องวางแผนจัดกิจกรรม ทัศนศึกษาดูงาน อันเป็นกลุ่มวิธีการของสื่อการสอนอย่างหนึ่งก็สามารถก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สื่อประเภทต่างๆ ที่ยกมากล่าวเป็นตัวอย่างข้างต้นนี้ หากจะได้ทำความเข้าใจอย่างชัดเจนแล้วเชื่อได้ว่าในการเรียนการสอนจริงสามารถนำไปใช้เป็นสื่อการสอนในเชิงเทคโนโลยีการศึกษาได้และเมื่อถึงวันนั้นเราคงไม่ขาดแคลนสื่อการสอนอย่างแน่นอน
สมมุติฐานสำหรับการวิจัย
เมื่อใช้ ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3/5 จะทำให้นักเรียนเข้าเรียนตรงเวลาและไม่หนีเรียน พัฒนาการเรียนของนักเรียนและลดพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมที่เกิดจากการหนีเรียน
ขอบเขตของการวิจัย
1. การวิจัยพัฒนาครั้งนี้เป็นการสร้างชุด กฎ กติกาและเงื่อนไขในการเช็คเวลาเข้าเรียนของ นักเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553
2. ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3/5 ที่เรียนในรายวิชา ฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้ โรงเรียนพงษ์สวัสดิ์พณิชยการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553

นิยามศัพท์ในการวิจัย
1. ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน หมายถึง แบบเช็คเวลาที่ จัดทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการเข้าเรียนช้าของนักเรียน ประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3/5
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่นักเรียนได้รับจากการทดสอบแบบทดสอบ ที่ครูสร้างขึ้น

วิธีดำเนินการวิจัย
1. วางแผนการจัดทำชุด ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
2. ศึกษาองค์ประกอบที่มีผลต่อการแก้ไขพฤติกรรมการเข้าเรียนช้าหรือหนีเรียนของนักเรียน
3. รวบรวมข้อมูลการจัดทำชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
4. วางแบบขั้นตอนการใช้งานชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
5. จัดทำชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
6. ใช้ ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
7. ประเมินผลโดยแบบทดสอบ แบบสังเกตพฤติกรรมและแบบสำรวจการเข้าเรียน
8. สรุปผลการใช้ ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
9. ปรับปรุงและพัฒนาชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป

กลุ่มตัวอย่าง
3. กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3/5 ที่เรียนในรายวิชา ฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้ โรงเรียนพงษ์สวัสดิ์พณิชยการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553








การวิเคราะห์และประเมินผลการเรียนรู้
1. การสังเกต
2. แบบสำรวจการเข้าเรียน
3. การประเมินผลสภาพจริง
พฤติกรรมการเรียนรู้ การตอบคำถาม การทำแบบฝึกหัด
ปฏิทินการวิจัย
1. ขั้นการวิจัย (ภาคเรียนที่ 2 พฤศจิกายน – มกราคม 2553 )
1. วางแผนการจัดทำชุด ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียน
2. ศึกษาองค์ประกอบที่มีผลต่อการแก้ไขพฤติกรรมการเข้าเรียนช้าหรือหนีเรียน
3. รวบรวมข้อมูลการจัดทำชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียน
4. วางแบบขั้นตอนการใช้งานชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียน
5. จัดทำชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
2. ใช้ ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
3. ขั้นประเมินผลโดยแบบทดสอบ แบบสังเกตพฤติกรรมและแบบสำรวจการเข้าเรียน
( พฤศจิกายน – มกราคม 2553 )
4. สรุปผลการใช้ ชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
ปรับปรุงและพัฒนาชุด กฎ กติกาและเงื่อนไข ในการเช็คเวลาเข้าเรียนของนักเรียน
ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป

เอกสารอ้างอิง
ธีระพัฒน์ ฤทธิ์ทอง . วิจัยอย่างง่ายของครู , 2542 . เอกสารอัดสำเนา
นภดล เจนอักษร, ACTION RESEARCH : การวิจัยของครู . เอกสารอัดสำเนา. 2542 .
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ” หลักการเขียนรายงานทางวิชาการ” การวิจัย การวัดและ
ประเมินผล กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยมหิดล ,2533.
วิชาการ กรม กระทรวงศึกษาธิการ. การวิจัยเชิงพัฒนา ระดับโรงเรียน ,กรุงเทพมหานคร
โรงพิมพ์คุรุสภา , 2536.

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

'ko

ระบบการทํางานของคอมพิวเตอร์

การทํางานของคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้

1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
ทําหน้าที่ในการรับข้อมูลหรือคําสั่งจากภายนอกเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจํา เพื่อเตรียมประมวลผล
ข้อมูลที่ต้องการ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการนําข้อมูลที่ใช้กันอยู่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น มีอยู่หลายประเภทด้วย
กันสําหรับอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี ดังต่อไปนี้
- Keyboard
- Mouse
- Disk Drive
- Hard Drive
- CD-Rom
- Magnetic Tape
- Card Reader
- Scanner

2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
ทํ าหน้าที่ในการคํานวณและประมวลผล แบ่งออกเป็น 2 หน่วยย่อย คือ
- หน่วยควบคุม ทําหน้าที่ในการดูแล ควบคุมลําดับขั้นตอนของการประมวลผล และการทํางาน
ของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในหน่วยประมวลผลกลาง และช่วยประสานงานระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับ
อุปกรณ์นําเข้าข้อมูล อุปกรณ์ในการแสดงผล และหน่วยความจําสํารอง
- หน่วยคํานวณและตรรก ทําหน้าที่ในการคํานวณและเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆ ที่ส่งมาจาก
หน่วยควบคุม และหน่วยความจํา

3. หน่วยความจํ า (Memory)
ทําหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือคําสั่งต่างๆ ที่รับจากภายนอกเข้ามาเก็บไว้ เพื่อประมวลผลและยัง
เก็บผลที่ได้จากการประมวลผลไว้เพื่อแสดงผลอีกด้วย ซึ่งแบ่งออกเป็น
หน่วยความจํา เป็นหน่วยความจําที่มีอยู่ ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ในการเก็บคําสั่ง
หรือข้อมูล แบ่งออกเป็น
- ROM หน่วยความจําแบบถาวร
- RAM หน่วยความจําแบบชั่วคราว
- หน่วยความจําสํารอง เป็นหน่วยความจําที่อยู่นอกเครื่อง มีหน้าที่ช่วยให้หน่วยความจําหลัก
สามารถเก็บ ข้อมูลได้มากขึ้น

4. หน่วยแสดงผล (Output Unit)
ทําหน้าที่ในการแสดงผลลัทธ์ที่ได้หลังจากการคํานวณและประมวลผล สําหรับอุปกรณ์ที่ ทําหน้าที่
ในการแสดงผลข้อมูลที่ได้นั้นมีต่อไปนี้
- Monitor จอภาพ
- Printer เครื่องพิมพ.
- Plotter เครื่องพิมพ์ที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการลงกระดาษ

แหล่งที่มา: http://www.geocities.com/kunkroo_computer